ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ

<strong>ไขมันพอกตับ</strong> <strong>ไขมันเกาะตับ</strong> #1

โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์  ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ

  • โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ

แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

  1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ 
  4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

ชาขาว ชาขาวเข็มเงิน ห้วยน้ำกืน เวียงป่าเป้า เชียงราย

Baihao Yinzhen ไป๋หาวหยินเจิน ชาขาวเข็มเงิน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Silver Needle ด้วยลักษณะเหมือนเข็ม มีขนสีขาวประกายเงินปกคลุม จึงเรียกว่าเข็มเงิน ชาขาวเข็มเงิน ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากไร่ชาบ้านห้วยน้ำก...

ดูรายละเอียด

บำรุงตับ

บทความน่ารู้

กระชายขาว โสมเมืองไทย

สำหรับสมุนไพรไทยที่ชื่อว่า “กระชายขาว” กระชายขาวมีสรรพคุณดีๆ หลายอย่าง กระชายขาวสมุนไพรยอดฮิตของคนไทย ดังไปถึงญี่ปุ่น ด้วยสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย สำหรับคนญี่ปุ่นนั้น แต่เดิมทีเค้าไม่ค่อยคุ้นเคยกับกระชายขาวเพราะไม่ได้เป็นพืชประจำถิ่นของเขา หา...

อ่านต่อ

พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์...

อ่านต่อ

ลำใส้ดี สุขภาพดี

เชื่อหรือไม่ว่าสุขภาพเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลำไส้เป็นส่วนสำคัญ? ยิ่งลำไส้ของเรามีสุขภาพดีมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็ยิ่งมีสุขภาพดีตามไปด้วย เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หากร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส...

อ่านต่อ

ลำไส้ดี ชีวิตยืนยาว

สุขภาพยังดีอยู่ไหม ให้ดูลึกถึงลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันอยู่ในนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ลำไส้ไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นบ้านของภูมิคุ้มกันหลังใหญ่ที่สุด หากสมดุลของลำไส้สะดุด จุลินทรีย์ดีในลำไส้ก็จะลดน้อยลง ส่งให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ...

อ่านต่อ