อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #1

ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ปีก็ได้

อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการ ของวัยทอง ที่มักเกิดขึ้นในช่วง 6เดือนแรก ถึง 2ปี ของวัยใกล้หมดประจำเดือน

อาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอาการร้อนตามตัว ร้อนที่ใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่หน้าร่วมด้วยได้ อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน

ลดอาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #2

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ลดความอ้วน ออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เดินเร็ว หรือยกน้ำหนัก วันละ 15-20 นาที เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนเดอร์ฟิน
  • ลดความเครียด คลายเครียดด้วยการฝึกโยคะ ทำสมาธิ หรือวิธีการผ่อนคลายอื่น 
  • อยู่ที่ทีมีอากาศเย็น สวมใส่เสื้อผ้าที่คลายร้อน อาบน้ำเย็นบ่อยๆ กินน้ำเย็น รวมทั้งใช้ผ้าห่มชนิดบาง เพื่อช่วยลดอาการวูบบาบ
  • แช่น้ำอุ่น 20 นาทีทุกเช้า อาจป้องกันอาการร้อนวูบวาบได้ตลอดทั้งวัน
  • รับแสงแดดอ่อนๆตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี สำหรับช่วยในการดูดซึมแคลเซียมอย่างเพียงพอ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินจะยิ่งเร่งให้ร่างกายมีอาการร้อนวูบวาบได้ง่ายขึ้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ ไวน์ ช็อกโกแลต ชีส และเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบมากขึ้น
  • ยารักษาตามอาการหรือยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมน เช่นยานอนหลับ ยาคลายเครียด ต้านเศร้า แก้ใจสั่น แก้ปวดเมื่อย ยาบำรุงต่างๆ เป็นต้น
  • ฮอร์โมน สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโทรเจน)ได้ผลดีมาก แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน5ปี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

อาหารลดอาการร้อนวูบวาบ

<strong>อาการร้อนวูบวาบ</strong>จากวัยทอง #3

  • กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมี สารไอโซฟลาโวน (isoflavone) ซึ่งคล้ายเอสโตรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโตรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโตรเจนที่ขึ้นๆลงๆให้สมดุลกับโปรเจสเตอโรนด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย
  • กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
  • กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกายนำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
  • กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ขิงมีประโยชน์

ขิงมีประโยชน์หลากหลายอย่างมากๆ วันนี้เลยจะพาทุกคนนำขิงไปประกอบอาหารกัน ขิงทำได้ทั้ง ต้ม ผัด แกง และ ทอด ในส่วนของคาวก็สามารถทำได้ทั้งกับข้าว และเครื่องเคียง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ผัดขิง ด้วยความเผ็ดร้อนที่ออกมาจากตัวขิงทำให้เมนูนี้ครบรส และประโยชน์เพียบ ห...

อ่านต่อ

ภาวะเบาหวานขึ้นตา

ภาวะเบาหวานขึ้นตาแบ่งเป็น 2 ระยะเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรกเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก เป็นระยะที่ผนังของเส้นเลือดที่จอตาไม่แข็งแรง ส่งผลให้เส้นเลือดโป่งขึ้น อาจทำให้เลือดหรือของเหลวรั่วออกมาในจอตา และเส้นเลือดใหญ่ที่จอตาจะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นผิดปกติ รวม...

อ่านต่อ

COVID ยังออกกำลังกายได้แต่ต้องปรับตัว

คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย ในสถานการณ์ Covid จากคุณหมอแอร์ แห่ง AVARIN เรากำลังเข้า​ Covid​ ระยะ​ 3 ต้องปรับตัวการออกกำลังกายยังไงการออกกำลังยังเป็นสิ่งที่ควรทำ​ เพราะสามารถเพิ่มภูมิต้านทานโรคไม่ออกกำลังกาย​แบบหนักเกินไป​ เพราะการออกกำลังกายที...

อ่านต่อ

โพรไบโอติก Probiotic คือ

ประชากรจุลินทรีย์ในร่างกายเรามีจำนวนเซลล์มากกว่าเซลล์มนุษย์ถึง 10 เท่า เฉพาะแค่ในลำไส้ใหญ่ พวกเราแต่ละคนก็มีเพื่อนตัวน้อยเหล่านี้อาศัยอยู่มากมาย ซึ่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ก็มีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูและทำให้จุลินทรีย์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ได้ ซึ่ง...

อ่านต่อ

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ มีดีอย่างไร

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ จะพบได้ในเห็ด ยีสต์สุรา และยีสต์ขนมปัง หรือพูดง่ายๆก็คือ ยีสต์เบต้ากูลแคน เป็นเบต้ากูลแคนที่สกัดจากยีสต์นั่นเอง  มีผลการศึกษาจากหลายชิ้นงาน พบว่า ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ และม...

อ่านต่อ