ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ

<strong>ไขมันพอกตับ</strong> <strong>ไขมันเกาะตับ</strong> #1

โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์  ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ

  • โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ

แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

  1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ 
  4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

กาแฟพาว เอส คอฟฟี่ POW S Coffee

กาแฟพาวเอส PowSCoffe ด้วยส่วนผสมที่ลงตัว อร่อย รสชาติเข้มข้น ไม่มีไขมันทรานส์ ไม่มีน้ำตาล พาวเอสคอฟฟี่ เร่งเบิร์น คุมหิว อิ่มนาน เพื่อสุขภาพและความอร่อยที่ลงตัวส่วนประกอบ1. ครีมเทียมจากน้ำมันมะพร้าว2. ผงกาแฟโรบัสตาคั่วสำเร็จรูป3. พาลาทิโนส4. น้ำมันเอ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

โปรตีน สำหรับ ผู้สูงอายุ

POW Daily เป็นมากกว่าโปรตีน ให้มากกว่าความอิ่ม เพราะ POW Daily คืออาหารคุณภาพดี 1 มื้อของคุณ หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่อยากมีสุขภาพและรูปร่างที่ดี แต่คุณไม่มีเวลาออกกำลังกาย ไม่มีเวลาเข้าครัว ทำอาหารไม่เป็น อยากดูแลตัวเอง แต่ไม่ชอบยุ่งยาก พาวเดลี่ซองนี...

อ่านต่อ

อายุมากขึ้น กินอาหารเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่กินอาหารในปริมาณเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอต่อร่างกายเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารอย่างโปรตีน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ก็มีประสิทธิภ...

อ่านต่อ

วิ่งมานานทำไมยังไม่ผอมซะที

วิ่งแล้วกินอะไรก็ได้เมื่อออกกำลังกาย เราจะเริ่มประทานอาหารมากขึ้นเป็นปกติ สาเหตุเพราะร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มสำหรับประกอบกิจกรรมออกกำลังกาย แต่กับดักแรกที่สำคัญคือ เมื่อวิ่งจบ นักวิ่งมักจะคิดไปเองว่าร่างกายได้เผาผลาญแคลอรี่ในปริมาณมากกว่าปกติ เราไ...

อ่านต่อ

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ

พลูคาว พาว

อยู่ท่ามกลางกลุ่มเสี่ยง แต่ก็รอดมาทุกซีซั่น เพราะการดูแลร่างกาย การทานพืชผักสมุนไพร โดยเฉพาะพลูคาว ที่ช่วยบำรุงเลือดและน้ำเหลือง และมีผิวสดใส พลูคาว เป็นสมุนไพรที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเช่น จีน และเกาหลี ได้มีการวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์ ทุกที่กำลังมอง...

อ่านต่อ