ไขมันพอกตับ ไขมันเกาะตับ

<strong>ไขมันพอกตับ</strong> <strong>ไขมันเกาะตับ</strong> #1

โรคไขมันพอกตับ Fatty Liver Disease หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ ไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์  ภาวะไขมันพอกตับนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการทำงานของตับผิดปกติ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่เป็นภัยเงียบที่ไม่อาจรู้ตัวเลยว่าเป็น การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ Liver biopsy มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ

  • โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30) ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผุ้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDLต่ำ (ผุ้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ

แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ

  1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ 
  4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ 

ที่มา : ข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลศิริราช

เอเลน่า แคปซูล Elena สมุนไพรวัยทอง

Elena Capsule เอเลน่า แคปซูล  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูลสำหรับการบำรุงสุขภาพสตรี ไม่ใช่ฮอร์โมนทดแทน ประกอบด้วยส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพร เช่น ถั่วขาว  เบต้ากูลแคน  ตังกุย  ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่น มะเขือเทศ อะเซโรล่าเชอรี่  และถั่วเหลือง ธัญ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ป...

อ่านต่อ

ข้อแนะนำการป้องกันโรคมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคที่นักวิจัยรายงานว่าสามารถป้องกันได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดมะเร็งมีผลจากวิถีการดำเนินชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี และ 35 เปอร์เซ็นต์ของปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักส่วนเกิน อาหาร และองค์ประกอบของอาหาร เช่น ไขมัน ...

อ่านต่อ

ประโยชน์ของ ชาขาว

ชาขาว ประกอบด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenols)ประเภท EGCG สูงมากกว่าชาชนิดอื่น เป็นหนึ่งในโมเลกุลจากพืชที่เป็นตัวต้านสารอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่คอยซ่อมแซมเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ต้านการอักเสบ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ชาขาวจึงได้รับความนิยมขึ้นเรื...

อ่านต่อ

มั่นใจ สมุนไพรไทย

ใครที่ยังสงสัยว่าสมุนไพรไทยดีจริงไหม ?  ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง?  3 คำถาม-คำตอบ กับ นพ.มารุต จิรเศรษฐสิริ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จะช่วยไขข้อข้องใจและสร้างความมั่นใจได้ว่า สมุนไพรมีดีและปลอดภัย ลองเปิดใ...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ