Long Covid คืออะไร

<strong>Long Covid</strong> คืออะไร #1

Long Covid อาการที่ยังหลงเหลือ แม้หายป่วยโควิดแล้ว ทำความรู้จักกับอาการ Long Covid ที่เป็นอาการหลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 แม้หายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ซึ่งจะพบหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากอาการ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่ละคน มีการแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับเมื่อหายจากการติดเชื้อ ก็จะมีการฟื้นฟูร่างกายที่ต่างกัน บางคนหายจากการติดเชื้อแล้วกลับมาเป็นปกติเลย หรือมีอาการดีขึ้นในระยะเวลา 6 สัปดาห์

Long Covid ที่เป็นอาการหลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 แม้หายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว

แต่ในผู้ป่วยบางรายเมื่อหายจากการป่วยโควิด-19 แล้ว ยังมีอาการคล้ายเป็นโควิด-19 ต่อเนื่องมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า Long Covid โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดเมื่อยตามข้อหรือมีภาวะไอเรื้อรังได้ ภาวะเหล่านี้มักพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักตัวมาก เนื่องจากลักษณะของอวัยวะต่างๆของร่ายการที่เสื่อมถอยร่วมกับมีการอักเสบจากการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการต่อเนื่องได้นานมากกว่าคนปกติ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาร่างกายให้กลับมาแข็งแรง เช่น การออกกำลังกายต่อเนื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงความวิตกกังวล จะสามารถช่วยให้กลุ่มอาการของ Long Covid ค่อยๆดีขึ้น

ด้าน นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มอาการ Long Covid คืออาการที่หลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะพบหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด และพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักตัวมาก ผู้สูงอายุ สามารถพบได้ถึง 60 – 70% ขึ้นไป

นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง อายุน้อย ไม่มีภาวะอ้วนและหายจากโควิด-19 ก็อาจจะมีกลุ่มอาการ Long Covid ได้เช่นกัน แต่ไม่มากเพียง 5-10% ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงอาการ Long Covid จึงขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว และอายุของผู้ป่วย

ที่มา : https://www.posttoday.com

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

แห้ง คัน มีกลิ่น ปัญหากวนใจของคุณผู้หญิง

อาการแห้ง คัน มีกลิ่น บริเวณน้องสาว หรือช่องคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไรและเราจะดูแลรักษายังไง?โดยปกติตรงบริเวณของช่องคลอดของคุณผู้หญิง จะมีพวกจุลินทรีย์ประจำถิ่น หรือที่เรียกว่า Normal flora เมื่อตรงบริเวณช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลมีค่ากรดหรือด่าง เช่น อาจ...

อ่านต่อ

สุขภาพการนอน การขับถ่าย ใครว่าไม่สำคัญ

นอนหลับยาก อ่อนเพลีย หรือขับถ่ายไม่ดี ไม่รู้จะแก้ยังไง? เปิดใจ...ลองทานพาว พาวเอสเซนส์ นวัตกรรมใหม่ของสมุนไพรไทย ยกระดับสมุนไพรไทยสู่สากล ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่มี 4งานวิจัย 2อนุสิทธิบัตร และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยในปี2561 พาวเ...

อ่านต่อ

กดนวด ดวงตา อันตราย

ห้ามขยี้ตาเมื่อมีอาการระคายเคืองตา เพราะถ้าหากมือไม่สะอาด อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น ตากุ้งยิง เป็นต้น บางรายหากขยี้แรงอาจมีผลกระทบต่อกระจกตา ทำให้กระจกตาผิดรูปหรือเสียรูปไปจากเดิม นำไปสู่ปัญหาสายตาตามมา นอกจาก...

อ่านต่อ

บำรุงสมอง

สมองดี เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เพราะสมองมีบทบาทต่อการทำงานของอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น ระบบประสาท การเคลื่อนไหวของแขน ขา ไปจนถึงการเดิน การทรงตัว และความจำ ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจาก...

อ่านต่อ

ทำIF ยังไงให้สำเร็จ

 Intermittent Fasting (IF) หรือการอดอาหารเป็นช่วงๆ โดยการควบคุมแคลอรี่ เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่นิยมกันมากในปัจจุบันสิ่งสำคัญในการทำIF สุขภาพต้องมาก่อนเสมอ ทำIFอย่างไรไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารพาวเดลี่ โปรตีนจากพืช 5 ชนิด มีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีสาร...

อ่านต่อ