ไขข้อข้องใจ สร้างภูมิสู้ไวรัส

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ หลายคนตื่นตระหนกและหวาดกลัว ไปจนถึงหวั่นใจ กับคำถามมากมายว่าเชื้อโรคและไวรัสน่ากลัวแค่ไหน ภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันสำคัญแค่ไหน และจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร มาไขข้อข้องใจเรื่องไวรัสกับภูมิต้านทานในร่างกายของเรากับ นพ.สุชาติ เลาบริพัตร แพทย์เฉพาะทางด้านระบาดวิทยา และ ผศ.ดร. เอกสิทธิ์ จงเจริญรักษ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ที่ตอบทุกข้อสงสัยให้เราเข้าใจเรื่องการสร้างภูมิสู้ไวรัส จะได้รู้ทันและป้องกันตัวเองจากโรคระบาดได้ดีขึ้น

การที่คนเราจะป่วยหรือติดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย คือปริมาณเชื้อไวรัสที่เข้ามามีมากน้อยแค่ไหน และภูมิต้านทานของเราสามารถต่อสู้กับไวรัสได้ไหม ถ้าเชื้อเข้ามาในปริมาณมากแต่ภูมิต้านทานน้อย ร่างกายสู้ไม่ได้ ก็ป่วย ตรงกันข้าม ถ้าเชื้อเข้าสู่ร่างกายน้อยและภูมิต้านทานสูง เราก็สู้ชนะ

ไวรัสมีหลายประเภท สามารถเข้าสู่ร่างกายด้วยช่องทางที่แตกต่างกัน ทั้งทางผิวหนัง ทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ ซึ่งแต่ละช่องทางที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกายของเราจะมีภูมิต้านทานคอยต่อสู้กับไวรัส

ภูมิต้านทานของร่างกายมีอยู่สองกลุ่มใหญ่ คือภูมิต้านทานทั่วไปซึ่งอยู่ในบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ภูมิต้านทานเหล่านี้จะต่อสู้เหมือนทหารที่คอยป้องกันชายแดน แต่หากไวรัสบุกเข้ามาในปริมาณมาก ภูมิต้านทานกลุ่มนี้จะสู้ไม่ไหว ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าภูมิต้านทานเฉพาะ ทำหน้าที่เหมือนหน่วยรบพิเศษ ที่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสที่มีปริมาณมากหรือแข็งแกร่งได้

ปัจจัยต่างๆ ทั้งมลภาวะในอากาศ การรับประทานอาหารที่อาจจะมีสารตกค้าง สารพิษต่างๆ หรือแม้กระทั่งการนอนหลับไม่เพียงพอ การไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้เรามีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดโรคได้

กลุ่มแรกก็คือกลุ่มคนสูงอายุ อีกกลุ่มคือคนที่มีโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง กลุ่มคนเหล่านี้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากๆ ได้ เมื่อทำลายได้ไม่หมดไวรัสก็เจริญเติบโต และทำให้เกิดโรคได้ง่าย

ต้องเคร่งครัดดูแลสุขภาพ รับประทานผักผลไม้หรืออาหารเสริม เพราะมีการพิสูจน์แล้วว่าวิตามินดี วิตามินซี และกลุ่มแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากผัก ผลไม้ และอาหารเสริม จะสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสได้

POW DERLA พาวเดอร์ล่า

พาวเดอร์ล่า POWDERLA  พาวรูปแบบใหม่ พาวผงชงดื่ม ได้ประโยชน์ อร่อย ชงง่าย โดยมีพลูคาวเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ขิง  กระชายขาว  ตรีผลา (สมอไทย มะขามป้อม สมอพิเภก) ใบหม่อน  ชะเอมเทศ  เก๊กฮวย  เจียวกู้หลาน  แป๊ะก๊วย  ใบบัวบก  งาดำ  สารสกัด...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

พลูคาว คือ

พลูคาว หรือผักคาวตอง เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานใบสดแกล้มอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหนือและอีสาน เช่น ลาบ ก้อย และแจ่ว และมีงานศึกษาวิจัยของหลายสถาบันที่รับรองสรรพคุณประโยชน์ของพลูคาว ว่ามีสรรพคุณรักษาหรือป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช...

อ่านต่อ

วิธีทานฟักทองให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

ฟักทองไม่ได้มีดีแค่เนื้อฟักทองสีเหลืองทองที่มีประโยชน์ เมล็ดฟักทองเองก็ช่วยคลายเครียดได้ดี น้ำมันฟักทองก็ช่วยบำรุงประสาท หรือแม้แต่เปลืองของฟักทองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลืดให้อยู่ในระดับปกติ ดังนั้นลองทานฟักทองจากหลายๆ ส่วนดู และหากจะหั่นเนื้อฟัก...

อ่านต่อ

ข้อแนะนำการป้องกันโรคมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคที่นักวิจัยรายงานว่าสามารถป้องกันได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดมะเร็งมีผลจากวิถีการดำเนินชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี และ 35 เปอร์เซ็นต์ของปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักส่วนเกิน อาหาร และองค์ประกอบของอาหาร เช่น ไขมัน ...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สาหร่ายสไปรุลินากับระดับไขมันในเลือด

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำพิธีส่งมอบเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยโครงการ "ผลของการบริโภคสไปรุลิน่าต่อการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือด"  โดยมีนักวิจัย คือ ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ...

อ่านต่อ

ฟื้นฟูร่างกายหลังวิ่ง

ยิ่งวิ่งเยอะร่างกายก็ยิ่งทำงานหนัก กล้ามเนื้อถูกใช้งานไปมากจนล้าได้ การฟื้นฟูร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญมากหลังการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อ หรือ cool down ด้วยวิธีต่าง ๆ เรามีวิธีฟื้นฟูร่างกายหลังแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดีข...

อ่านต่อ