วิ่งยังไงไม่ให้เหนื่อยง่าย

<strong>วิ่ง</strong>ยังไงไม่ให้เหนื่อยง่าย #1

วิ่งแล้วเหนื่อยง่ายจัง เหนื่อยเร็วจัง ทำไมวิ่งแค่ 5 นาทีก็เหนื่อยแล้ว

เป็นคำถามยอดฮิต ติดหู ได้ยินกันบ่อยมาก มีวิธีที่สามารถนำไปปรับใช้ ที่จะทำให้เราไม่เหนื่อยง่าย อีกต่อไป

กายพร้อมใจก็ต้องพร้อม

ถ้าร่างกายเราบอกว่าพร้อมแล้ว เข่า ข้อ กล้ามเนื้อ เอว สะโพก ฟิตพร้อมจะวิ่ง สิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันคือจิตใจครับ เราต้องปรับสภาพจิตใจให้พร้อมวิ่งด้วย ยกความเครียดทิ้งไป เก็บเรื่องปวดหัวไว้ข้างหลัง เพราะเรื่องพวกนี้มันคือต้นเหตุทำให้การวิ่งของเราไม่สนุก และยังส่งผลทางอ้อมทำให้เราเหนื่อยเร็วอีกด้วย

<strong>วิ่ง</strong>ยังไงไม่ให้เหนื่อยง่าย #2

อุ่นเครื่อง

การวอร์มอัพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ การ Warm up ที่ถูกวิธี คือการยืดที่เราจะไม่อยู่กับที่มีการเคลื่อนที่ไปมา เช่น การดีดขาขึ้นมาแตะก้นของเราสลับไปมา หรือ การยกขาช่วงล่างเข่าขึ้นมากอด หรือจะเป็นการวิ่งเขย่งก้าวสลับขา การวอร์มอัพร่างกายนั้นจะช่วยให้กล้ามเนื้อและระบบประสาทของเราพร้อมรับการกระตุ้นจากการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มอุณหภูมิของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้รวดเร็วและมีแรงมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ ส่งผลทำให้เราวิ่งได้นานขึ้น

วิ่งสลับเดินเร็ว

สำหรับนักวิ่งมือใหม่ขอแนะนำให้วิ่งสลับกับเดินเร็ว โดยจะวิ่งเหยาะ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าเหนื่อยแล้วให้สลับมาเดินเร็ว ทำให้ร่างกายของเราแอคทีฟอยู่ตลอดเวลา หลังจากร่างกายเริ่มเคยชินแล้ว ก็ลองเปลี่ยนมาวิ่ง 5 นาที สลับเดิน 3 นาที ลองวางแผนการวิ่งของตัวเอง แล้วค่อย ๆ ขยับเวลาไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบ

Weight Training

สำหรับคนที่ชอบ weight training จะทำควบคู่ไปด้วยก็ไม่ผิดนะ เพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง และลดความเสี่ยงอาการบาดเจ็บหลังวิ่งได้ดี

ฝึกหายใจขณะวิ่งให้ถูกหลัก

เทคนิคการหายใจอย่างถูกวิธีในขณะวิ่งเป็นสิ่งที่นักวิ่งมือใหม่ควรจะต้องเรียนรู้ เพราะจะช่วยทำให้เราสามารถที่จะวิ่งไปได้เร็วขึ้น แถมวิ่งได้นานขึ้น ที่สำคัญควรจะฝึกตั้งแต่ช่วงแรกที่เราเริ่มหัดวิ่ง โดยจังหวะการหายใจในการวิ่งที่นักวิ่งมือใหม่ควรรู้ และนำไปฝึกจะเป็นตามนี้

จังหวะการวิ่ง 2-2 (in 2, out 2)

  1. หายใจเข้าพร้อมกับก้าวเท้าขวา นับ 1 (เรียกว่า in จะเข้าใจง่ายกว่า)
  2. เท้าซ้ายลงพื้นนับ 2 (ก็ยังเป็น in 2)
  3. เท้าขวาลงนับ 1 (ให้เรียกว่า out 1)
  4. ซ้ายลงนับ 2 (ให้เรียกว่า out 2)
  5. เท้าขวาลงอีกครั้งนับ 1 หรือ in ก็คือรอบจังหวะการหายใจต่อไป

จะเห็นได้ว่าการหายใจเข้าออกจะลงที่เท้าขวาทุกครั้งนะครับ และจังหวะแรงกระแทกที่ส่งจากช่วงล่างจากเท้าที่กระทบพื้น สู่ช่วงลำตัวและกล้ามเนื้อกะบังลม (Diaphragm) ขณะยืดหดตัวนั้นก็มาจากเท้าขวา ทุกครั้งที่หายใจเราก็ได้รับแรงจากด้านขวาเพียงข้างเดียว

จังหวะการวิ่ง 3-2 (in 2,3 out 2)

  1. จังหวะที่ก้าวเท้าขวาลงหายใจเข้านับ 1 (เรียกว่า in 1 เหมือนเดิมนะ)
  2. ขาซ้ายก้าวนับ 2 (ให้เรียกว่า in 2)
  3. ขาขวาก้าวนับ 3 (ให้เรียกว่า in 3)
  4. ขาซ้ายก้าว และหายใจออกนับ out (ให้เรียกว่า out 1)
  5. ขาขวาก้าวนับ 2 (ให้เรียกว่า out 2)
  6. ขาซ้ายลง และหายใจนับ 1 หรือ in ก็คือรอบจังหวะการหายใจต่อไป

สรุป การสร้างจังหวะวิ่งแบบ 3-2 หรือช่วงจังหวะหายใจเข้าจะลงเท้า 3 ครั้ง และหายใจออก 2 ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้ดีขึ้นมาก เพราะช่วงที่เราหายใจอยู่นั้นกล้ามเนื้อจะมีการยืดหด และจะเห็นได้ว่าจังหวะหายใจเข้าจะสลับกันระหว่างซ้ายและขวา ทำให้กะบังลมไม่ต้องรับแรงกระแทกอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งนั่นเอง แต่ในการนำไปใช้ช่วงแรก ๆ ลองฝึกหายใจโดยการเดินวอร์มอัพเบา ๆ ก่อน เพื่อปรับตัวให้คุ้นเคยกับการหายใจและจังหวะลงของเท้านะ

เพลงโปรด

การที่ จะออกไปวิ่งทั้งที หลังจากโยนความเครียดทิ้งออกไปจากหัวแล้ว การที่จะหาความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ และผ่อนคลายสักหน่อย การฟังเพลงสนุก ๆ จังหวะสบายหู หรือจะเป็นเพลงที่เราชอบก็ไม่ผิดครับ จัดเพลย์ลิสต์กันมาเลยยาว ๆ ใส่หูฟัง แล้วกดเล่นในขณะวิ่งก็จะช่วยให้เพลิดเพลิน จนลืมเหนื่อยกันไปได้เลย

ลองเอาไปฝึกกันดูนะ แต่ว่าถ้าเราหยุดวิ่ง หรือ ซ้อมไม่ต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายของเรานั้นค่อย ๆ กลับไปสู่จุดเริ่มต้น พอกลับมาวิ่งก็อาจจะเกิดอาการเหนื่อยง่ายขึ้นมาอีกได้ เพราะฉะนั้นการซ้อมอย่างสม่ำเสมอ สำคัญที่สุด

ซ้อมไม่ต่อเนื่อง เมื่อกลับมาวิ่งอีกครั้ง ก็อาจจะเกิดอาการเหนื่อยง่ายขึ้นมาอีก การซ้อมอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

<strong>วิ่ง</strong>ยังไงไม่ให้เหนื่อยง่าย #3

เอเลน่า แคปซูล Elena สมุนไพรวัยทอง

Elena Capsule เอเลน่า แคปซูล  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูลสำหรับการบำรุงสุขภาพสตรี ไม่ใช่ฮอร์โมนทดแทน ประกอบด้วยส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพร เช่น ถั่วขาว  เบต้ากูลแคน  ตังกุย  ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่น มะเขือเทศ อะเซโรล่าเชอรี่  และถั่วเหลือง ธัญ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

ข้อควรระวังในการรับประทานเบต้ากูลแคน

การรับประทานเบต้ากลูแคนค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย !!แต่เพราะยังไม่มีการวิจัยที่รับรองความปลอดภัยในระยะยาว จึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียง สำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการบริโภคผลิตภัณ...

อ่านต่อ

รีวิวผลิตภัณฑ์พาว จากทางบ้าน

พาวน้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้นและสมุนไพรอื่นๆอีก 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๋ สมอไทย โสม ลูกยอ และเจียวกู้หลาน พาว เฮอร์เบิล เฟรซ เมาท์สเปรย์ ช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่น ลดกลิ่น ลดการอักเสบ และปัญหาในช่องปากขอ...

อ่านต่อ

Long Covid คืออะไร

Long Covid อาการที่ยังหลงเหลือ แม้หายป่วยโควิดแล้ว ทำความรู้จักกับอาการ Long Covid ที่เป็นอาการหลงเหลืออยู่ของเชื้อโควิด-19 แม้หายป่วยจากการติดเชื้อแล้ว ซึ่งจะพบหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก และวิธีดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากอาการนายแพทย์สมศักดิ์ อร...

อ่านต่อ

ดื่มน้ำให้มากขึ้น ทำง่ายๆ

น้ำมีประโยชน์ต่อชีวิตคนเราอย่างยิ่ง ทั้งนี้ 4 ใน 5 ของน้ำหนักมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำ เราอาจอยู่โดยขาดอาหารได้นานกว่าการอยู่โดยขาดน้ำ  ประโยชน์ของน้ำที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ไม่แห้งกร้าน ดวงตาสดใสไม่ขุ่นมัว ทำให้ดูเปล่งปลั่งอ่อนกว่าว...

อ่านต่อ

จุลินทรีย์ ที่อยู่ในร่างกาย ของเรา

Akkermansia จุลินทรีย์รักษาสมดุลภูมิคุ้มกันจุลินทรีย์พระเอกของสุขภาพร่างกายเรา ทำหน้าที่ผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid) ที่ช่วยเสริมทัพความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้แก่ กรดแอซิติก กรดโพรพิโอนิก และกรดบิวทิริก แถมยังช่วยป้องกัน...

อ่านต่อ