ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

พาวน้ำ ขวดเล็ก POW พาวเอสเซ้นส์ น้ำสมุนไพรพลูคาว

พาวน้ำขนาดใหม่  375 ml. พกพาสะดวกพาวน้ำ หรือ พาวซุยยากุเอสเซ้นส์ พาวขวดเล็ก พกพาสะดวก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทดลองทาน อัดแน่นด้วยส่วนผสมสมุนไพรที่มีประโยชน์เหมือนเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก่ พลูคาว ใบมะรุม ลูกยอ กระชายดำ ตังกุย เห...

ดูรายละเอียด

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

บทความน่ารู้

อากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุหนึ่งของการไอ

อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หนึ่งในสาเหตุของการไอ ให้พาวเมาท์สเปรย์เป็นตัวช่วยบรรเทาอาการไอนะครับช่วยลดการสะสมของเชื้อเเบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุเเละกลิ่นในช่องปากได้ถึง 99%อ้างอิง โครงการการทดสอบประสิทธิภาพเเละความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับกลิ่...

อ่านต่อ

ทำไม คนติดเชื้อโควิด ไม่ป่วยหมดทุกคน

ความสามารถในการติดเชื้อ ของไวรัสทั่วไป รวมถึงเจ้าโควิด19 เชื้อร้ายที่ไม่กระจอกขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยนี้ความแข็งแรงของเชื้อเมื่อไวรัสถูกทำให้อ่อนแอลง โครงสร้างชั้นไขมันถูกทำลาย หรือถูกลดความสามารถในการแบ่งตัว ทำให้การติดเชื้อไวรัสเป็นไปได้ยากขึ้น ลดการเ...

อ่านต่อ

อาหารชะลอวัย ไม่แก่

เชื่อว่าใครๆก็ยังอยากดูดี ดูสดใส ไม่อยากร่วงโรยไปตามวัยกันทั้งนั้น 5 อาหารใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยชะลอวัย รับรองได้ว่ารู้แล้วจะรีบเข้าครัวไปหามาด่วนๆ ไม่อยากแก่ แค่กินอาหารเหล่านี้ ก็ช่วยได้ กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นแหล่งรวมสารต้านอน...

อ่านต่อ

พลูคาว คาวตอง กับ มะเร็ง

พลูคาว เด่นดังในเรื่องต้านเซลล์มะเร็งเช่นกัน โดยจากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ทั้งในไทยและต่างประเทศ พบว่า พลูคาวมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว  มีงานวิจัยหนึ่งที่สกัดสารชีวภาพกลุ่มอัลคาลอยด์หล...

อ่านต่อ

กระชายขาว วิธีรักษาโรค แผนโบราณ

กระชายขาวกับ วิธีรักษาโรคแบบแผนโบราณ มีเทคนิคโบราณกับการรับประทานกระชายเหลืองหรือกระชายขาวแบบสด กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักแห้ง ราก...

อ่านต่อ