ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

เด็กไทยวิถีใหม่ใส่ใจเบาหวาน

โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง โดยมีสาเหตุหลักจาก "ภาวะโภชนาการเกิน" และ "การขาดการออกกำลังกาย" เบาหวานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่น่าเป็นห่วงคือ "ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเปราะบาง" ซึ่งนอกจากผู้สูงอายุแล้ว ได้แก่ เด็ก วัยรุ่น และผู้ด้อยโอกาสที่จำเป็นอย่างยิ...

อ่านต่อ

สมุนไพร บำรุงตับ

ตับ อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่เสมือนเป็นโรงงานผลิต แปรรูป และโกดังเก็บสินค้า หน้าที่ของตับ คือ สร้าง+สังเคราะห์ น้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยไขมันและกำจัดพิษผ่านทางน้ำดี สร้างโปรตีน เอนไซม์และภูมิคุ้มกันของร่างกาย กำจัดของเสียจากอาหาร สารพิษ ย...

อ่านต่อ

เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงก...

อ่านต่อ

ผู้สูงวัย ดื่มนมอย่างไรให้สุขภาพดี

ผู้สูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และสรีระ ส่งผลต่อทั้งการดำเนินชีวิต และการรับประทานอาหาร หนึ่งในโรคที่มักจะพบในผู้สูงอายุคือ โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกมีความเปราะบาง ทำให้หักได้ง่าย เพราะการดูดซึมแคลเซียมของผู้สูงอายุนั้นลดลง นอกจากอาหารท...

อ่านต่อ

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุมเบาหวานไม่ได้

เบาหวาน เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำได้โดยไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย)สามารถแบ่งกลุ่มผู...

อ่านต่อ