ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้

เมื่อเคี้ยวผักเชียงดาแล้วลองรับประทานน้ำตาลทรายตามเข้าไปจะทำให้ไม่สามารถรับรู้รสหวานได้ และอีกประการหนึ่งคือ ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้ โดยพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์นี้คือ จิมนีมิคแอซิด (GYMNEMIC ACID) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สกัดได้จากใบและรากของผักเชียงดา โดยลักษณะโครงสร้างทางเคมีของ จิมนีมิคแอซิด มีการจัดเรียงตัวของอะตอมในโมเลกุลคล้ายกับโมเลกุลของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อมีการรับประทานผักเชียงดาเข้าไปแล้ว โมเลกุลของ จิมนีมิคแอซิด จะเข้าไปจับกับตัวรับของปุ่มรับรสหวานในปาก โดยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง จึงไปขัดขวางการทำงานของปุ่มรับรสหวานจากการกระตุ้นโดยโมเลกุลของน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลังจากรับประทานผักเชียงดาแล้วตามด้วยอาหารที่มีรสหวานถึงไม่รับรู้ถึงความหวานของอาหารนั้นได้

นอกจากการยับยั้งการทำงานของตัวรับของปุ่มรับรสในปากแล้ว ในส่วนของลำไส้เล็กก็จะพบโครงสร้างที่คล้ายกันกับตัวรับที่พบในปากตรงบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในผนังของลำไส้เล็ก ดังนั้นด้วยกลไกการยับยั้งที่คล้ายกันจึงทำให้สามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงได้มีการนำผักเชียงดามาทำเป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย

นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่ยืนยันว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหารได้โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของคนที่รับประทานแคปซูลของผักเชียงดาเข้าไปหลังจากรับประทานกลูโคสทันทีหรือหลังจากรับประทานกลูโคสเป็นเวลา 15 นาที จะพบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคของแคปซูลเป็นสองเท่าพบว่าปริมาณของกลูโคสลดลงมากกว่ากรณีแรก รวมทั้งยังได้มีการศึกษาผลของแคปซูลจากผักเชียงดาต่อความเป็นพิษต่อตับซึ่งก็พบว่าผักเชียงดาไม่มีพิษต่อตับ

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับเกิดจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่าน หรือผ่านได้น้อย ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคา...

อ่านต่อ

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การป้องกันนั้น ย่อมดีกว่าการรักษา สุขภาพไม่ดีภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น เจอค่ามะเร็ง ค่ามะเร็งหาย ผลผลิตจากสมุนไพร ปราศจากสารเคมีและวัตถุกันเสียพาวน้ำ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น ร่วมกับส่วนผสมสมุนไ...

อ่านต่อ

เบาหวาน เสี่ยงโควิด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่าง "เบาหวาน" เป็น 1 ใน 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 แล้วคนเป็นเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผย 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดอักเสบของผู้ป่วย COVID-19 ...

อ่านต่อ

กระชายขาว วิธีรักษาโรค แผนโบราณ

กระชายขาวกับ วิธีรักษาโรคแบบแผนโบราณ มีเทคนิคโบราณกับการรับประทานกระชายเหลืองหรือกระชายขาวแบบสด กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักแห้ง ราก...

อ่านต่อ