ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้

เมื่อเคี้ยวผักเชียงดาแล้วลองรับประทานน้ำตาลทรายตามเข้าไปจะทำให้ไม่สามารถรับรู้รสหวานได้ และอีกประการหนึ่งคือ ผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมและลดระดับน้ำตาลในลำไส้ของทางเดินอาหารในคน และ สัตว์ได้ โดยพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์นี้คือ จิมนีมิคแอซิด (GYMNEMIC ACID) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สกัดได้จากใบและรากของผักเชียงดา โดยลักษณะโครงสร้างทางเคมีของ จิมนีมิคแอซิด มีการจัดเรียงตัวของอะตอมในโมเลกุลคล้ายกับโมเลกุลของน้ำตาล ดังนั้นเมื่อมีการรับประทานผักเชียงดาเข้าไปแล้ว โมเลกุลของ จิมนีมิคแอซิด จะเข้าไปจับกับตัวรับของปุ่มรับรสหวานในปาก โดยใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง จึงไปขัดขวางการทำงานของปุ่มรับรสหวานจากการกระตุ้นโดยโมเลกุลของน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลังจากรับประทานผักเชียงดาแล้วตามด้วยอาหารที่มีรสหวานถึงไม่รับรู้ถึงความหวานของอาหารนั้นได้

นอกจากการยับยั้งการทำงานของตัวรับของปุ่มรับรสในปากแล้ว ในส่วนของลำไส้เล็กก็จะพบโครงสร้างที่คล้ายกันกับตัวรับที่พบในปากตรงบริเวณเนื้อเยื่อชั้นนอกที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในผนังของลำไส้เล็ก ดังนั้นด้วยกลไกการยับยั้งที่คล้ายกันจึงทำให้สามารถยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็กได้ ดังนั้นจึงได้มีการนำผักเชียงดามาทำเป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย

นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยที่ยืนยันว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหารได้โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของคนที่รับประทานแคปซูลของผักเชียงดาเข้าไปหลังจากรับประทานกลูโคสทันทีหรือหลังจากรับประทานกลูโคสเป็นเวลา 15 นาที จะพบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคของแคปซูลเป็นสองเท่าพบว่าปริมาณของกลูโคสลดลงมากกว่ากรณีแรก รวมทั้งยังได้มีการศึกษาผลของแคปซูลจากผักเชียงดาต่อความเป็นพิษต่อตับซึ่งก็พบว่าผักเชียงดาไม่มีพิษต่อตับ

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ความเชื่อผิดๆ โรคเบาหวาน

ความเชื่อ: รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงทำให้เป็นเบาหวานความจริง: โรคเบาหวานมี 2 ชนิดคือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes Type1) เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและยังไม่ทราบปัจจัยแน่ชัดทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes Type2) เกิดจ...

อ่านต่อ

คนเบาหวานต้องรู้

วิธีง่ายๆ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี นั้นต้องปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลดื่มน้ำเปล่าใ...

อ่านต่อ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ

ทำความรู้จัก ใบพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือและอีสานของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมี...

อ่านต่อ