ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

ข้อแนะนำป้องกัน covid19 ผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย มักมีโรคแทรกซ้อน...

อ่านต่อ

ไขปมผู้ป่วย เบาหวาน ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง

ไขปมผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง?ซึ่งหากติดเชื้อโควิด19ส่งผลกระทบต่อการควบคุมเบาหวานได้แย่ลง เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเบาหวานคุมไม่ได้ น้ำตาลก็สูงขึ้น น้ำตาลที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานแย่ลง ทำให้ ไวรั...

อ่านต่อ

คนเบาหวานต้องรู้

วิธีง่ายๆ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี นั้นต้องปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลดื่มน้ำเปล่าใ...

อ่านต่อ

รู้ทันโรคเบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียวแต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโร...

อ่านต่อ