อินซูลิน ควรรู้ก่อนใช้ควบคุม เบาหวาน

<strong>อินซูลิน</strong> ควรรู้ก่อนใช้ควบคุม <strong>เบาหวาน</strong> #1

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้นและจำเป็นในการนำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายที่ต้องการพลังงาน แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงจากอาหารไปใช้ให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่ เพราะขาดฮอร์โมนอินซูลิน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีโรคแทรกซ้อนง่าย เช่น โรคติดเชื้อ เป็นแผลหายยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และโรคตา

ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล ต้องใช้อินซูลิน

ชนิดของอินซูลิน

  • อินซูลินวัว มาจากตับอ่อนของวัว
  • อินซูลินหมู มาจากตับอ่อนของหมู
  • อินซูลินหมูและวัว เป็นอินซูลินที่ได้จากส่วนผสมของตับอ่อนหมูและวัว
  • อินซูลินคน ได้จากกระบวนการชีวเคมีสังเคราะห์ หรือวิธีพันธุวิศวกรรมทางชีวสังเคราะห์ จึงสามารถทำให้เหมือนอินซูลินในร่างกายคนได้ (อินซูลินคน มีความบริสุทธิ์มากที่สุด และเกิดอาการแพ้เนื่องจากภูมิต้านทานทางฤทธิ์ของยาน้อยกว่าอินซูลินชนิดอื่น

ลักษณะของอินซูลิน

อินซูลินใส จะเหมือนน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีสี เป็นยาที่ให้ผลรวดเร็วหลังฉีดประมาณ 30 นาที มีช่วงเวลาออกฤทธิ์เพียง 6 ชั่วโมง (โดยประมาณ) อินซูลินขุ่น จะมีตะกอนเล็ก ๆ แขวนลอยอยู่ ออกฤทธิ์นานประมาณ 16 – 20 ชั่วโมง

ทำไมต้องใช้อินซูลินโดยวิธีฉีด

หากผู้ป่วยได้รับอินซูลินโดยการรับประทาน ตัวยาจะถูกทำลายโดยน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร จึงต้องใช้วิธีฉีดเข้าร่างกายโดยตรง ซึ่งปัจจุบัน “ปากกาฉีดอินซูลิน” ได้มีการพัฒนาให้ใช้สะดวกเกิดความเจ็บปวดขณะฉีดน้อยลง มีความแม่นยำสูง ผู้ป่วยไม่กลัวการฉีดอินซูลินอีกต่อไป

วิธีฉีดอินซูลิน

ปกติจะฉีดใต้ผิวหนัง แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

การเตรียมยาอินซูลิน

ตรวจดูลักษณะยา ถ้าเป็นชนิดน้ำใส ต้องไม่หนืด ไม่มีสี ถ้าเป็นชนิดน้ำขุ่นแขวนตะกอน ให้คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบา ๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด **ห้ามเขย่าขวดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟอง

ฉีดอินซูลินตรงไหนดี

ฉีดได้ทั้งบริเวณหน้าท้อง หน้าขาทั้ง 2 ข้าง สะโพก ต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ที่สำคัญ ต้องใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด และเมื่อดึงเข็มออก ให้ใช้สำลีกดเบา ๆ ห้ามนวดตรงที่ฉีด ในการฉีดครั้งต่อไปควรฉีดห่างจากจุดเดิม 1 นิ้ว และควรฉีดบริเวณเดียวกันให้ทั่วก่อนไปฉีดบริเวณอื่น

ห้ามฉีดซ้ำที่เดิมมากกว่า 1 ครั้ง / 1 - 2 เดือน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานงายต่อการติดเชื้อ ควรรักษาอนามัยส่วนตัวให้สะอาด โดยเฉพาะฟันและเท้า ถ้ามีบาดแผล รอยข่วน หรือแผลเปื่อยยิ่งต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ

อาการข้างเคียงและข้อควรปฏิบัติ

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นผลจากการให้อินซูลินมากเกินไป รับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลา หรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป ออกกำลังกายหรือทำงานมากกว่าปกติ จะมีอาการปวดหัว เหงื่อออก ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก เดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานของที่มีน้ำตาลผสม (ห้ามใช้น้ำตาลเทียม) และพบแพทย์ทันที
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลจากการได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ หรือรับประทานมากเกินไป จะปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิว ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มึนงง ถ้าเป็นลมให้นำส่งโรงพยาบาลทันที

ข้อควรระวังในการใช้อินซูลิน

ก่อนใช้อินซูลินควรบอกแพทย์หากเคยมีประวัติแพ้อินซูลินที่ทำจากหมูหรือวัว กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร รวมทั้งผู้เป็นโรคต่อมไทรอยด์ โรคตับ โรคไตและโรคติดเชื้อ นอกจากนี้ หากกำลังใช้ยาอื่นอยู่ ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกร ห้ามรับประทานยาแก้หวัดหรือยาภูมิแพ้ที่มีน้ำตาลและแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยเบาหวานควรมีบัตรประจำตัวระบุชื่อนามสกุล ชื่อแพทย์ประจำตัว เบอร์โทรศัพท์ ชื่อชนิดและขนาดของอินซูลินที่ใช้พกติดตัวเสมอ

เคล็ดลับเก็บรักษาอินซูลิน

ตามปกติเก็บอินซูลินที่อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส เก็บได้นานเท่ากับอายุยาข้างขวดแต่สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 องศาเซลเซียส) ได้นานประมาณ 1 เดือน อินซูลินที่เก็บในอุณหภูมิสูง เช่น กลางแดดจัด หรือที่อุณหภูมิต่ำมากๆ เช่น ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่ควรใช้เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากยาเสื่อมคุณภาพ

ผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากการรับอินซูลินตามแพทย์สั่งแล้ว ควรหมั่นออกกำลังกาย ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมทำจิตใจให้สบาย เพียงเท่านี้สุขภาพของท่านก็จะดีวันดีคืนขึ้นได้


Credit : ภญ.ชัยวรรณี เกาสายพันธ์ ฝ่ายเภสัชกรรม Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พลูคาว พาว

อยู่ท่ามกลางกลุ่มเสี่ยง แต่ก็รอดมาทุกซีซั่น เพราะการดูแลร่างกาย การทานพืชผักสมุนไพร โดยเฉพาะพลูคาว ที่ช่วยบำรุงเลือดและน้ำเหลือง และมีผิวสดใส พลูคาว เป็นสมุนไพรที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเช่น จีน และเกาหลี ได้มีการวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์ ทุกที่กำลังมอง...

อ่านต่อ

ลดไขมันเลว

โปรเจคลดเลว ด้วยนวัตกรรมแห่งอนาคตของคนไทย BlueSpira ที่วิจัยและทดสอบในอาสาสมัครจริง พิสูจน์ได้ว่าไขมันเลวลดลง 4เท่า! หยุดสัญญาณทำร้ายสุขภาพอันดับ 1 ใน 3 เดือนที่ทาน กับ Pow Zukar Q หากเป็นเรื่องสุขภาพ แค่รู้สึกได้ไม่พอ! ต้องวัดผลออกมาเป็นงา...

อ่านต่อ

เบาหวาน หายได้ไหม

เบาหวาน หายได้ไหม? หลังจากหมอหยุดจ่ายยามาแล้วสักระยะ หมอก็ขอนัดเพื่อติดตามผล น้ำตาลปลายนิ้ว 99mg./dL และ น้ำตาลสะสม 5.3% สมุนไพรแอลยูเซเว่น เป็นสมุนไพรเชิงวิทยาศาสตร์ แอลยูเซเว่นไม่ได้เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล แต่แอลยูเซเว่นมุ่งเน้นเฉพาะโรค ด้วยการพัฒนา...

อ่านต่อ

ตรวจเจอเบาหวาน ทำไงดี

ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจ เพราะมีคนเป็นโรคนี้หลายล้านคนทั่วโลก แค่เฉพาะที่ไทยก็มีถึง 5 ล้านคน เฉพาะที่ตรวจเจอ และยังมีที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นอีกเท่าไหร่ โรคนี้เป็นแล้วไม่ได้ตายในทันที เบาหวานเปรียบเหมือนสนิม ซึ่งยังให้โอกาสเราได้แก้ไขได้ แต่ก่อนอื่นคุณต้องยอมร...

อ่านต่อ

เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงก...

อ่านต่อ