ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน

ยา<strong>เบาหวาน</strong> ชนิดรับประทาน #1

ยาลดระดับน้ำตาล หรือ ยาเบาหวานชนิดรับประทาน ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ยาชนิดรับประทานมีหลายชนิด ซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไป

ยาที่แพทย์มักให้กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดแรกคือ ยาเมทฟอร์มิน ซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดใหญ่ออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยาเมทฟอร์มินรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นผลข้างเคียงของยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง เบื่ออาหาร การรับประทานพร้อมอาหารจะลดอาการข้างเคียงของยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดี ดังนั้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก หายใจเร็วหลังรับประทานยานี้ ต้องรีบมาพบแพทย์

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1

เมื่อใช้ยาเมทฟอร์มินเป็นยาตัวแรกแล้ว หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ หรือหากระดับน้ำตาลสูงมากตั้งแต่ต้น แพทย์จะพิจารณาให้ยาเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ยาที่ผู้ป่วยมักจะได้รับต่อจากเมทฟอร์มินคือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดเล็ก ยาในกลุ่มนี้รับประทานวันละ 1-2 ครั้งโดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือน้ำตาลในเลือดต่ำ ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับยากลุ่มนี้ จึงควรรับประทานอาหารหลังจากทานยาไม่เกิน 30 นาที กินอาหาร ออกกำลังกายให้ตรงเวลา และพกน้ำตาลก้อนหรือน้ำหวานติดตัวไว้เสมอ เพื่อใช้เวลาที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งอาจมีอาการใจสั่น หิวข้าว หลงลืม จนถึงไม่รู้สึกตัวได้

หากมีอาการน้ำตาลต่ำเกิดขึ้นบ่อยหรือยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เมื่อได้รับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียและเมทฟอร์มิน แพทย์อาจเปลี่ยนยาหรือเพิ่มยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์แบบอื่นครับ

Credit : พลอากาศโท นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

พลูคาว พาว

อยู่ท่ามกลางกลุ่มเสี่ยง แต่ก็รอดมาทุกซีซั่น เพราะการดูแลร่างกาย การทานพืชผักสมุนไพร โดยเฉพาะพลูคาว ที่ช่วยบำรุงเลือดและน้ำเหลือง และมีผิวสดใส พลูคาว เป็นสมุนไพรที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเช่น จีน และเกาหลี ได้มีการวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์ ทุกที่กำลังมอง...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ

หวานซ่อนร้าย ภัยร้ายจากน้ำตาล

น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลซูโครส…น้ำตาลยอดฮิตของมนุษย์ เป็นน้ำตาลที่กินกันบ่อยที่สุด มีความหวานสัมพัทธ์เท่ากับ 100 พบมากที่สุดในอ้อย น้ำตาลปีบ น้ำตาลโตนด น้ำตาลหัวบีตรูท และผลไม้ที่มีรสหวานเกือบทุกชนิดเมื่อกินอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลซูโครส ร่างกายจะย...

อ่านต่อ

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ มีดีอย่างไร

เบต้ากูลแคนจากยีสต์ จะพบได้ในเห็ด ยีสต์สุรา และยีสต์ขนมปัง หรือพูดง่ายๆก็คือ ยีสต์เบต้ากูลแคน เป็นเบต้ากูลแคนที่สกัดจากยีสต์นั่นเอง  มีผลการศึกษาจากหลายชิ้นงาน พบว่า ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูการทำงานของภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ และม...

อ่านต่อ