โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้คนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยมานาน และมีการควบคุมโรคได้ไม่ดีพอ

ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้

นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และ Metabolism สนทนากับ Better Health ถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหัวใจในฐานะที่เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมากขึ้นทุกที

เบาหวานเสี่ยงหัวใจสูง

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

โรคเบาหวาน หมายความถึงภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเหตุให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติไป และสร้างความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานาน และไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึงร้อยละ 50-80

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงกว่า เพราะการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะการอักเสบ หลอดเลือดตีบแคบลง หรือการที่หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับการที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินและการไม่ออกกำลังกาย ด้วยเหตุที่สภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกตินี้เอง ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจึงส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างเงียบ ๆ ไปทั่วร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งภาวะที่หลอดเลือดอ่อนแอ แตกง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #3
ปัจจุบัน เราพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเทียบเท่ากับผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยผ่านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครั้งแรกไปแล้ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานนั้นก็มีความร้ายแรง ต้องอาศัยการดูแลอย่างต่อเนื่อง รู้จริง และเป็นระบบ รีบปรับตัวก่อนจะสาย
อย่างไรก็ตาม นพ. วราภณให้ความมั่นใจว่า อนาคตของผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยโรคหัวใจเสมอไป

แม้จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติหลายเท่า รวมทั้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตั้งแต่ 2-4 เท่า แต่หากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองดี ๆ ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร ใช้ยาเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน นพ. วราภณบอกวิธีง่าย ๆ ในการสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัว ดังนี้

  • คนในครอบครัว (บิดา มารดา พี่น้อง) เป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร (ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี หญิง อายุน้อยกว่า 65 ปี)
  • เป็นโรคเบาหวานมานาน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมาตลอด 5 ปี
  • มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • อึดอัด เหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม แต่อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ชัดเจน
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะเครียดเรื้อรัง

ตั้งใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารไม่เครียด รักษาสุขภาพจิตใจให้ดี และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #4

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

LU7 คุมน้ำตาลเบาหวานได้จริงมั้ย

แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บเกี่ยว มีการควบคุมกระบวนการผลิตตามมาตราฐานระดับโลก โรงงานผลิตได้ตรา USDA/ HACCP/ OneCert /EU Organic / GMP    สมุนไพรส่วนประกอบใน...

อ่านต่อ

อาหารชะลอวัย ไม่แก่

เชื่อว่าใครๆก็ยังอยากดูดี ดูสดใส ไม่อยากร่วงโรยไปตามวัยกันทั้งนั้น 5 อาหารใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยชะลอวัย รับรองได้ว่ารู้แล้วจะรีบเข้าครัวไปหามาด่วนๆ ไม่อยากแก่ แค่กินอาหารเหล่านี้ ก็ช่วยได้ กระเทียมมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งเป็นแหล่งรวมสารต้านอน...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ

ชาเลือดมังกร กับประโยชน์ที่มากมาย

ชาเลือดมังกร เหตุที่เรียกชื่อนี้เนื่องจากสีสรรของน้ำชาสีแดงอันแปลกตาเวลาชงดื่ม  ชาเลือดมังกร เป็นพืชพื้นถิ่นของทางภาคเหนือ ปลูกบนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 1,300 เมตร ซึ่งสีแดงในน้ำชาอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งเป็นเม...

อ่านต่อ

กระเทียม สกัดเย็น สกัดร้อน แตกต่างกันอย่างไร

กระเทียมสกัดในท้องตลาดนั้น หลายท่านจะสังเกตเห็นว่ามีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือสกัดเย็น และสกัดร้อน ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็มาจากกระเทียมเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่กระบวนการสกัด และผลผลิตสุดท้ายสกัดเย็น – ผลผลิตที่ได้จะอยู่ในรูปน้ำมันใส สกัดร้อน – ผลผ...

อ่านต่อ