ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต่างจากข้าวขาวหรือข้าวที่ผ่านการขัดสีมาแล้วอย่างไร

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #1

ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่เอาเปลือกออกแต่ในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) ยังอยู่ ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี 1, บี 2, ธาตุเหล็ก, ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาดูกันว่า กินข้าวกล้องแตกต่างจากการกินข้าวขาวอย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร โดยจะพิจารณาความสำคัญของค่า ๆ หนึ่ง คือ ค่า #GlycemicIndex (#GI) หรือดัชนีน้ำตาล โดยอาหารชนิดใดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะหมายถึง เมื่อบริโภคอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะถูกย่อยและกลายสภาพเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดอย่างรวดเร็ว เพราะประกอบด้วย น้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือด อีกทั้งยังทำให้อินซูลินจากตับอ่อนหลั่งออกมาอย่างรวดเร็วด้วย เมื่อน้ำตาลถูกอินซูลินพาเข้าไปในเซลล์อย่างรวดเร็วแล้ว อินซูลินที่หลั่งออกมามากและค้างอยู่ในกระแสเลือดก็กลับเกิดภาวะโหยน้ำตาล จึงทำให้ไม่สามารถเลิกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง ๆ ได้ ซึ่งหากรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำก็จะส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็น #โรคเบาหวาน #โรคอ้วน #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการสะสมไขมันที่มากขึ้น และนั่นจะทำให้คุณอ้วนขึ้น

แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูง แต่ก็ควรทานแต่พอดี และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

จะเห็นว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างมากถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่พอดี คราวนี้เราลองมาดูค่า GI ของข้าวชนิดต่าง ๆ และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ กัน ตัวอย่างเช่น น้ำตาลกลูโคส (ค่า GI =100), ข้าวขาวหอมมะลิ (ค่า GI = 100), ข้าวเหนียว (ค่า GI = 98), ข้าวกล้อง (ค่า GI =50), ขนมปังโฮลวีท (ค่า GI =53), วุ้นเส้น (ค่า GI =39)

คราวนี้เราลองมาดูรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษที่ชื่อว่า The British Medical Journal ในหัวข้อ การบริโภคข้าวขาวและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (White rice consumption and risk of type 2 diabetes meta-analysis and systematic review ) จะพบว่าการบริโภคข้าวที่ผ่านการขัดสีหรือข้าวขาว มีความเสี่ยงต่อโรค #เบาหวานชนิดที่2 โดยเฉพาะในชาวเอเชียที่มีการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งจากงานวิจัยทำให้เราต้องตระหนักแล้วว่าการเลือกรับประทานข้าวของเรา ในแต่ละมื้อเราควรเลือกให้ดีว่าคาร์โบไฮเดรทที่เรารับประทานไปนั้นเป็นชนิดใด แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่สูงมากแต่ก็ควรรับประทานแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

<strong>ข้าวกล้อง</strong> <strong>ข้าวขาว</strong> #2

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

บทความน่ารู้

อายุมากขึ้น กินอาหารเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่กินอาหารในปริมาณเท่าเดิม อาจไม่เพียงพอต่อร่างกายเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยและการดูดซึมสารอาหารอย่างโปรตีน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก ก็มีประสิทธิภ...

อ่านต่อ

การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การป้องกันนั้น ย่อมดีกว่าการรักษา สุขภาพไม่ดีภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น เจอค่ามะเร็ง ค่ามะเร็งหาย ผลผลิตจากสมุนไพร ปราศจากสารเคมีและวัตถุกันเสียพาวน้ำ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น ร่วมกับส่วนผสมสมุนไ...

อ่านต่อ

ทำให้น้ำตาลลดลง ใครว่าทำไม่ได้

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ !!แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข ไม่ตื่นตอนดึก นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์ค...

อ่านต่อ

สมุนไพรป้องกัน โรคเบาหวาน

นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบำบัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกัน และรักษาอาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลงได้ บทความนี้ จะกล่าวถึงสมุนไพรแก้เบาหวาน 5 ชนิดมะระขี้นกมะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้ว...

อ่านต่อ

ดื่มชาดี ต่อสุขภาพ

นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์อย่างสม่ำเสมอ จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดลดลงถึง 68% ซึ่งสารที่ว่านี้พบมากในชาดำ หัวหอม และแอปเปิ้ลผู้ที่ดื่มชาดำวันละถ้วย จะช่วยลดความเสี่ยงจากหัวใจวายได้ถึง 44%รายงานการวิจัยจากองค์การอา...

อ่านต่อ