ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน 

ไวรัส RSV คืออะไร

Respiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV เป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ร่างกายได้รับไวรัส RSV ได้อย่างไร

ไวรัส RSV จะพบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ   

ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการอย่างไร

RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ

  • ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
  • ทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
  • ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัส RSV ตั้งแต่ 40 –90 % รวมไปถึงปอดบวม  

ไวรัส RSV ต่างจากหวัดธรรมดาอย่างไร

หวัดธรรมดาจะมีอาการไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ กินนมได้ ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV มีอาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึมลง ตัวเขียว กินข้าว กินน้ำ กินนมไม่ได้  

รักษา ไวรัส RSV อย่างไร

ระวังเรื่องการขาดนน้ำ เพราะจะยิ่งทำให้เสมหะเหนียวข้นและเชื้อลงปอด อาจต้องใช้ยาพ่นร่วมกับ oxygen เพื่อช่วยขยายหลอดลม รับประทานยาลดไข้ตามอาการทุก 4 – 6 ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆ ร่างกายก็จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน จึงจะหาย  

วิธีป้องกัน ไวรัส RSV

การล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆ เช่นกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสเด็กที่สงสัยว่าเป็นหวัด และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเอาไว้

เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

หลีกเลี่ยงการจูบและหอมเด็ก เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ไม่พาบุตรหลานไปที่ชุมชมสถานที่ที่มีคนเยอะ

ถ้ามองเผิน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าน้องเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการให้ดีและปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อชีวิตเด็ก ๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้อง ๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดค่ะ

เครดิตข้อมูลจาก : รักลูกคลับ-Rakluke Club

POW พาวแคปซูล พาวเฮอร์เบิลแคปซูล

พาวแคปซูล สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานแบบน้ำ ไม่ชอบกลิ่นและรสชาติของสมุนไพร ต้องเดินทางบ่อยพกพาวชนิดน้ำไปทานไม่สะดวก พาวแคปซูล จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพสมุนไพรในพาวเฮอร์เบิลแคปซูล มี 12 ชนิด ประกอบไปด้วย พลูคาว  เบต้ากูลแค...

ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

บทความน่ารู้

ดูแลสุขภาพวัยทำงาน

คนทำงานมักจะเต็มที่กับชีวิต ถึงไหนถึงกัน ทำงานเต็มที่ เที่ยวเต็มเหนี่ยว นอนดึกตื่นเช้า พักผ่อนน้อย จนอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันที่ควรจะแข็งแรงอ่อนแอลงได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ถ้าหักโหมใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง ต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไว้ก่อน จะได...

อ่านต่อ

V herb คืออะไร

V herb  คือการผสมผสานส่วนผสมสารสกัด 5 ชนิด ได้แก่ พลูคาว สไปรูลิน่า กระชายขาว เบต้ากูลแคนจากยีสต์ และมะขามป้อม กลไกการทำงานของสมุนไพรแต่ละชนิดคือ สไปรูลิน่าเปิดเปลือกเยื่อหุ้มของไวรัสประเภทมีหนาม เพื่อให้สารสกัดพลูคาวและสารสกัดกระชายทำหน้าที่ต้...

อ่านต่อ

ทำไม คนติดเชื้อโควิด ไม่ป่วยหมดทุกคน

ความสามารถในการติดเชื้อ ของไวรัสทั่วไป รวมถึงเจ้าโควิด19 เชื้อร้ายที่ไม่กระจอกขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยนี้ความแข็งแรงของเชื้อเมื่อไวรัสถูกทำให้อ่อนแอลง โครงสร้างชั้นไขมันถูกทำลาย หรือถูกลดความสามารถในการแบ่งตัว ทำให้การติดเชื้อไวรัสเป็นไปได้ยากขึ้น ลดการเ...

อ่านต่อ

รู้ได้อย่างไรดื่มน้ำพอไหม

ประโยชน์ของการดื่มน้ำให้เพียงพอสำหรับร่างกายมีมากมาย สิ่งที่คุณจะรับรู้ได้อย่างชัดเจนด้วยตัวเองก็คือ เมื่อดื่มน้ำไม่เพียงพอ เราจะรู้สึก ปากแห้ง คอแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม แต่เมื่อดื่มน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับร่างกาย สมองจะสามารถคิด ประมวลผลได้เร็...

อ่านต่อ

วัคซีนต้านโควิด19 ถามตอบ ข้อสงสัย ไขข้อกังวล ก่อนฉีดวัคซีนโควิด19

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนและนัดวัน-เวลา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังมีข้อสงสัยและความกังวลต่าง ๆ จากคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ...

อ่านต่อ