โรคภูมิแพ้

โรค<strong>ภูมิแพ้</strong> #1

โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคทางภูมิคุ้มกันเหมือนกัน แต่กลไกการเกิดต่างกัน ฉะนั้นโรคทั้งสองจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย  โรคทางภูมิแพ้เป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายของกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเร็วมากเกินกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะหนึ่งหรือหลายอวัยวะร่วมกันได้ อาการของผู้ป่วยมีได้ทั้งทางตา หู คอ จมูก ทางเดินหายใจส่วนล่าง ทางเดินอาหาร หรือทางผิวหนัง  อาการมักจะเป็นเรื้อรัง ความรุนแรงมีตั้งแต่รบกวนชีวิตประจำวันเล็กน้อยไปจนถึงขึ้นถึงอันตรายแก่ชีวิต

โรคภูมิแพ้ถึงแม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบว่า ถ้าพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นประมาณ 60% แต่ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นประมาณ 30%

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นภูมิแพ้

ผื่นคัน ลมพิษ

น้ำมูก จาม คันจมูก คัดจมูก

◾คันตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหลบ่อย

ไอ หอบ

◾แน่นหน้าอก หายใจไม่คล่อง หรือหายใจแล้วมีเสียงวี้ด

นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด รววมถึงมีภาวะซีดเกิดขึ้นได้เช่นกัน

โรคภูมิแพ้รักษาอย่างไร และหายขาดหรือไม่

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ เพราะถ้าไม่พบสารที่แพ้ ก็จะไม่เกิดปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ขึ้น เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ว่าแพ้อะไรและหลีกเลี่ยงอย่างไรจึงสำคัญมาก การรักษาภูมิแพ้ ได้แก่

1.การกินยา พ่นยา ฉีดยา เนื่องจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ จะมีสารเคมีหลายชนิดเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ  ฉะนั้นการใช้ยาต้องอยู่ในการควยบคุมของแพทย์เสมอ

2.กระตุ้นภูมิแพ้ต่อสารภูมิแพ้ วิธีการนี้เป็นการนำสารที่แพ้  (ผู้ป่วยต้องถูกทดสอบก่อนว่าแพ้อะไร) มากระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต่อสารนั้น  ซึ่งวิธีนี้ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมืออย่างมากเพราะการรักษาต้องใช้เวลานานและต่อเนื่อง

การรักษาภูมิไม่ว่าวิธีใด ก็ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เพียงแต่การรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นในระยะยาว และช่วยป้องกันโรคที่อาจเป็นผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ได้

แม้ภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง ตลอดจนหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาหารที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี


ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลรามคำแหง , โรงพยาบาลกรุงเทพ


POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

บทความน่ารู้

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ

มั่นใจ สมุนไพรไทย

ใครที่ยังสงสัยว่าสมุนไพรไทยดีจริงไหม ?  ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง?  3 คำถาม-คำตอบ กับ นพ.มารุต จิรเศรษฐสิริ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จะช่วยไขข้อข้องใจและสร้างความมั่นใจได้ว่า สมุนไพรมีดีและปลอดภัย ลองเปิดใ...

อ่านต่อ

ดูแลสุขภาพวัยทำงาน

คนทำงานมักจะเต็มที่กับชีวิต ถึงไหนถึงกัน ทำงานเต็มที่ เที่ยวเต็มเหนี่ยว นอนดึกตื่นเช้า พักผ่อนน้อย จนอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันที่ควรจะแข็งแรงอ่อนแอลงได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ถ้าหักโหมใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วง ต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไว้ก่อน จะได...

อ่านต่อ

VHerb ดูแลสุขภาพคุณยังไง

หากภูมิต่ำ ด้วยการผสานพลัง 5 ยอดสมุนไพรสกัด ทั้งสารสกัดพลูคาว สารสกัดกระชาย สไปรูลิน่า เบต้ากลูแคนจากยีสต์ และสารสกัดมะขามป้อม จะช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ หากกลัวโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพิ่มความมั่นใ...

อ่านต่อ

คำชื่นชม จากลูกค้า พาว ขอบคุณมากครับ

ทุกๆ ก้าวของ พาว เราจะพบรอยยิ้มของเกษตรกรชาวไทย อยู่ร่วมทางไปกับเราเสมอ พบเสียงยินดีของกลุ่มอาจารย์นักวิจัย ที่เห็นผลงานได้นำออกไปช่วยผู้คนได้จริง ๆ พบคำชื่นชม จากลูกค้า ที่เห็นความตั้งใจ และจริงใจ ของเรา ในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ และ การสื่อสารข้อมูลที่ม...

อ่านต่อ