ติดโควิด อยู่บ้านรอเตียง จะทำยังงัยดี

<strong>ติดโควิด</strong> อยู่บ้าน<strong>รอเตียง</strong> จะทำยังงัยดี #1

หากท่านติดโควิด แล้วไม่มีอาการอะไร เป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดา ก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่เชื้อลงปอด แล้วทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม อันนี้เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะจะรบกวนการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งเป็นหน้าที่หลักของปอด หากเป็นมากระดับหนึ่งจะทำให้ระดับออกซิเจนเลือดลดลง และจะลดลงมากยิ่งขึ้นหากการติดเชื้อลุกลาม ภาวะปอดบวมนี้จะทำให้ปอดขยายตัวยาก คือ หายใจเข้าได้น้อยลง เป็นมากรุนแรงขึ้น ยิ่งหายใจเข้าได้น้อย ระดับออกซิเจนในเลือดของท่านจะยิ่งต่ำลง แต่อวัยวะต่างๆในร่างกายของท่านยังต้องการพลังงานซึ่งต้องอาศัยออกซิเจนในปริมาณเท่าเดิม เมื่อปอดทำงานแย่ลง มันจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นหน้าที่ของท่านที่ต้องปฏิบัติตัว รอหมอ รอเตียง คือพยายามประคับประคองการทำงานของปอดให้สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่เลือดในระดับที่เพียงพอ และ ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง โดยให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

ลดระดับการใช้พลังงานของร่างกายลง

เมื่อเราติดเชื้อ เราจะมีไข้ ไข้จะสูงจะต่ำอยู่ที่การตอบสนองของร่างกายเรา หากมีไข้ ต้องลดไข้ก่อน เพราะยิ่งไข้สูงระดับการใช้พลังงานของร่างกายจะสูงขึ้น ยิ่งต้องการออกซิเจนมากขึ้น ในขณะที่ปอดเรากำลังแย่เราจะไม่ไหวแล้วจะผ่านมันไปไม่ได้ วิธีการลดอุณหภูมิร่างกายทำได้โดย

  • ทานยาลดไข้ ตามขนาดที่เหมาะสมกับตนเอง
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้องบ่อยๆ ทำวนไปจนไข้ลด
  • เช็ดสวนทางกับแนวขน เพราะเราต้องการเปิดรูขุมขนให้ระบายความร้อน
  • ผ้าขนหนูควรซับน้ำได้ดี ไม่ต้องหมาดมาก
  • สามารถวางผ้าชุบน้ำโป๊ะไว้บริเวณที่ร้อนมากๆ เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นหลัง ขาหนี วางโป๊ะไว้จนบริเวณนั้นอุณหภูมิลดลง หรือผ้าอุ่นจะต้องเปลี่ยนไปซุบผ้าใหม่ 
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น (หากท่านไม่ใช่ผู้ป่วยนที่มีโรคประจำตัวจนต้องจำกัดปริมาณน้ำ เช่นผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจบางประเภท ซึ่งผู้ป่วยมักจะทราบอยู่แล้ว) เพื่อคงระดับสมดุลน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำมันเกินเราก็จะขับออกมาทางปัสสาวะเอง
  • ลดการทำกิจกรรมลง ทำแค่กิจวัตรประจำวันที่จำเป็นในช่วงมีไข้เท่านั้น เพื่อลดระดับความต้องการพลังงานของร่างกายให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่นอนเฉยๆทั้งวันนะครับ 
  • กิจกรรมใดที่ทำให้หัวใจท่านเต้นเร็วขึ้นมากแสดงว่าใช้พลังงานมากขึ้น 
  • จับชีพจรที่เส้นเลือกบริเวณข้อมือจะพอทราบว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาที ถ้าช่วงที่ไข้ขึ้น หัวใจท่านอาจจะเต้นเร็วขึ้นเช่นกัน

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

บทความน่ารู้

ไวรัสRSV และ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร

ไวรัส RSV เป็นไวรัสซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กลัวมาก เนื่องจากไวรัส RSVยังไม่มีทั้งยารักษาและวัคซีนป้องกัน และไวรัส RSVมักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน ไวรัส RSV คืออะไรRespiratory Syncytial virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานในวงการแพทย์ ซึ่ง RSV...

อ่านต่อ

คุณรู้จักภูมิแพ้ ดีแค่ไหน

ภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคหรืออาการ ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งเป็นระบบกลไกที่มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ สารเคมี ฝุ่น พืช ละอองเกสร ขนสัตว์ เป็นต้น มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้มากกว่าปกติ หรือไวเกิ...

อ่านต่อ

ภาวะลองโควิด

สถาบันการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะลองโควิดทานผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง เป็นต้น ซึ่งปริมาณที่มีอยู่นั้น ยังไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ 10 ล้าน Cfu ขึ้นไปโพรไบโอติกส์...

อ่านต่อ

ทำความรู้จัก ใบพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือและอีสานของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมี...

อ่านต่อ

เตรียมร่างกาย ก่อนรับ วัคซีนโควิด19

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร กรณีที่มีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เช่น ปวดแขน บวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว หรืออ่อนเพลีย สาหตุอาจเป็นเพราะร่างกายกำลังตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19กรณีที่มีไข้สูงกิน 38 ํ C ปวดเมื่อยมาก อ่อนเพลียมาก ควร...

อ่านต่อ