ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

ใครที่เสี่ยงเป็นโรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> #1

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง?

แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคพุ่มพวง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไม่ได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติอยู่หลายประการ ได้แก่

  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต
  • ความผิดปกติจากพันธุกรรม (ชนิดที่ถ่ายทอดได้) การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้ 
  • ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
  • มีอาการแพ้กับสิ่งต่างๆ เช่น แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาการวินิจฉัยโรคพุ่มพวง
  • สูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนักบางชนิด  ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต
  • เครียด ทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป

ใครที่เสี่ยงเป็นโรค<strong>แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง</strong> #2

การป้องกันโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองไม่มีวิธีป้องกันได้ 100% แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป ไม่สูบบุหรี่ ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ

สินค้าอื่นๆ

บทความน่ารู้

vegan คืออะไร ทำไมดีต่อสิ่งแวดล้อม

VEGAN คืออะไร ทำไมถึงดีต่อสิ่งแวดล้อมวีแกน (Vegan) คือการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยจะทานเฉพาะผักผลไม้ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ นม เนย ชีส ไข่ รวมถึงน้ำผึ้ง  ยีสต์ และเจลาติน หลีกเลี่ยงเครื่องแต่งกายที่ทำมาจากสัตว์ แม้แต่เครื่องสำอางค์ที่ทดลองกับสั...

อ่านต่อ

เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS คืออะไร

ความหมายการรับรองแบบมีส่วนร่วมParticipatory Organic Guarantee System (PGS) คือ การรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ การเกษตของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจําหน่ายในชุมชน หรือ จําหน่ายตรงเน้นกระ...

อ่านต่อ

COVID ยังออกกำลังกายได้แต่ต้องปรับตัว

คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย ในสถานการณ์ Covid จากคุณหมอแอร์ แห่ง AVARIN เรากำลังเข้า​ Covid​ ระยะ​ 3 ต้องปรับตัวการออกกำลังกายยังไงการออกกำลังยังเป็นสิ่งที่ควรทำ​ เพราะสามารถเพิ่มภูมิต้านทานโรคไม่ออกกำลังกาย​แบบหนักเกินไป​ เพราะการออกกำลังกายที...

อ่านต่อ

กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเป็นปราการด่านแรกในการเจรจา พบปะผู้คนแม้จะดูแลฟันและช่องปากดีขนาดไหน...แต่ก็เกิดกลิ่นปากได้แบบไม่รู้ตัว วันนี้มีเกร็ดความรู้สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก และการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก มากฝากทุกคนค่ะ...

อ่านต่อ

ความแตกต่างของยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร

ในการดูแลสุขภาพ การรักษาและป้องกันโรค นอกจากจะพึ่งพาการแพทย์แผนปัจจุบันการใช้ยาแผนปัจจุบัน  การใช้สมุนไพร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้ในการรักษาแต่ว่าการใช้สมุนไพร กับ ยาแผนปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาลองดูกันค่ะยาแผ...

อ่านต่อ