ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

1วิตามิน 4แร่ธาตุ ยิ่งขาด ยิ่งติดหวาน

เมื่อเราติดของหวาน อยากอาหารรสหวาน ขนมไทย เบเกอรี่ รวมทั้งติดแป้ง อยากกินเส้นก๋วยเตี๋ยว พิซซ่า ขนมกรุบกรอบที่ทำจากแป้ง นั่นเป็นเพราะร่างกายขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีน ที่จะไปช่วยทำให้สารสื่อประสาทในสมองแข็งแรงพอ ที่จะไม่อ่อนแออ่อนไหวต่ออารมณ์อยากอาหา...

อ่านต่อ

ใยอาหาร ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประโยชน์

ยีสต์เบต้ากลูแคน (Yeast Beta-Glucan) มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร นอกจากจะช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายแล้ว ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้เม้ดเลือดขาวเตรียมพร้อมควบบคุมการหลังสาร ไซโตไคน์ ที่ช่วยสื่อสารระหว่าง...

อ่านต่อ

เวย์แบบไหน เหมาะกับคุณ

หลายคนยังดื่มเวย์โปรตีน แบบไม่ได้ศึกษาประเภทของเวย์โปรตีน โดยเพียงดูจากปริมาณโปรตีนเท่านั้น ถ้าโปรตีนสูงก็โอเคแล้ว การกินเวย์โปรตีนแต่ละประเภทก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน ก่อนที่เราจะเลือกดื่มเวย์โปรตีน ควรรู้ว่า เวย์โปรตีนแต่ละประเภทแ...

อ่านต่อ

สูงวัยทำยังให้ไงไม่ให้อ่อนแอ

ยิ่งสูงวัยร่างกายยิ่งอ่อนแอ ภูมิต้านทานก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ หากไม่ดูแลให้ดีอาจจะถูกเล่นงานจากสารพัดโรคร้าย ต้องรีบฟื้นฟูเสริมภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เพราะยิ่งภูมิแข็งแกร่ง ร่างกายก็จะแข็งแรงตามไปด้วยเพราะการที่คนเราจะป่วยหรือติดโรคมีอยู่ 2 ปัจจัย คือปริ...

อ่านต่อ

โรคฉวยโอกาส มาเยือนเมื่อภูมิต่ำ

หลายคนอาจจะไม่เป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าเมื่อภูมิคุ้มกันลดน้อยลง จะเกิดอะไรขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ความเครียดจากการทำงาน การนอนไม่หลับพักผ่อนน้อย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนเสื่อมโทรมลงได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็เหมือนการเปิดป...

อ่านต่อ