ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

สุขภาพการนอน การขับถ่าย ใครว่าไม่สำคัญ

นอนหลับยาก อ่อนเพลีย หรือขับถ่ายไม่ดี ไม่รู้จะแก้ยังไง? เปิดใจ...ลองทานพาว พาวเอสเซนส์ นวัตกรรมใหม่ของสมุนไพรไทย ยกระดับสมุนไพรไทยสู่สากล ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ที่มี 4งานวิจัย 2อนุสิทธิบัตร และได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยในปี2561 พาวเ...

อ่านต่อ

อาหารบำรุงสายตา

การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมือถือเป็นเวลานาน ย่อมมีผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาอย่างแน่นอน  แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ได้จริงๆ เราควรรู้จักการพักสายตาระหว่างวันบ้าง และรับประทานอาหารที่จะแนะนำ อาหารเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันแสง...

อ่านต่อ

กินเจ อิ่มบุญ สุขภาพดี ไม่อ้วน

ช่วงเทศกาลกินเจของทุกปี ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย ตามปฏิทินสากล รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน 9 คืน  การกินเจ คือการงดรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด และหันมารับประทานพืชผัก ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วง...

อ่านต่อ

ติดโควิด อยู่บ้านรอเตียง จะทำยังงัยดี

หากท่านติดโควิด แล้วไม่มีอาการอะไร เป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดา ก็ไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่เชื้อลงปอด แล้วทำให้เกิดปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม อันนี้เริ่มน่าเป็นห่วง เพราะจะรบกวนการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งเป็นหน้าที่หลักของปอด หากเป็นมากระดับ...

อ่านต่อ

Powderlar วิธีทาน

Powderlar วิธีทาน สุขภาพดีแค่ 3 stepฉีกซองพาวเดอร์ล่า 1 ซอง เทลงในแก้วที่แห้งเติมน้ำใส่แก้ว ประมาณ 30 ml. แนะนำควรเป็นน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติจะช่วยให้ละลายง่ายขึ้นคนละลายให้เข้ากัน แล้วดื่มได้ทันที...

อ่านต่อ