กลุ่มโรคไทรอยด์

ปรับปรุงล่าสุด : 11 ธันวาคม 2564

กลุ่มโรค<strong>ไทรอยด์</strong> #1

5 กลุ่มของโรคต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์  คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอหน้าหน้า ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ธาตุไอโอดีเป็นส่วนประกอบ จากนั้นจะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญพลังานของเซลล์ทั่วร่างกาย และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย เมื่อต่อมไทรอยด์ผิดปกติจะโตขึ้น และเห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้งก็โตเป็นลักษณะหลายๆก้อนติดกัน แต่ที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลาเรากลืนน้ำลาย

ระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากหรือน้อยเกินไป ลักษณะของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ คือสัญญาณของโรคต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมไทรอยด์มีหลายชนิด การรักษาก็แตกต่างกัน โดยทั่วไปเราจำแนกโรคของต่อมไทรอยด์ได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

1.ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือเรียกอีกอย่างว่าไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานเร็วเกินไป การเผาผลาญเร็ว ผู้ที่เป็นไฮเปอร์ไทรอยด์มักมีอาการเหงื่ออกมาก น้ำหนักลด กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ใจสั่น แขนขาอ่อนแรง นัยด์ตาโปน เป็นปื้นที่หน้าขา และต่อมไทรอยด์โต  รักษาได้ด้วยการรับประทานยา กลืนไอโอดีน หรือผ่าตัด

2.ไฮโปไทรอยด์ หรือเรียกอีกอย่างว่าไทรอยด์ต่ำ  ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ การทำงานของเซลล์ในร่างกายจึงเฉี่อยชา อาการที่พบได้คือ น้ำหนักเพิ่ม หนาว ง่วง เพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ความจำไม่ดี ซึมเศร้า หัวใจเต้นช้า เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก รอบตาบวม ตัวบวม หน้าบวม และต่อมไทรอยด์โร  การรักษาแพทย์จะให้รับประทานยาเพื่อรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์

3.ต่อมไทรอยด์อักเสบ ที่พบบ่อยจะมี 2 ชนิดคือ กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง  แบบกึ่งเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เป็นไข้ เหนื่อยง่าย ต่อมไทรอยด์โตและรู้สึกเจ็บเมื่อกดบริเวณต่อมไทรอยด์   ส่วนชนิดเรื้อรังหรือฮาชิโมโต้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ อาการคอโตแต่กดไม่เจ็บ และอาจยุบได้เอง สามารถตรวจได้จากแอนตี้บอดี้ในเลือด หากไม่ได้รับการรักษาปล่อยให้อักเสบต่อเนื่องต่อมไทรอยด์จะถูกทำลายและกลายเป็นไฮโปไทรอยด์หรือทรอยด์ต่ำได้

4.ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ โตแบบหลายก้อน และโตแบบก้อนเดียว ถ้าเป็นก้อนน้ำแพทย์อาจใช้วิธีดูดน้ำหรือเซลล์ก้อนเนื้อไปตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่  กรณีที่ไม่เป็นมะเร็งรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด การใช้ยาทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม

5.มะเร็งต่อมไทรอยด์  ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบแพฟิลลารี และฟอลลิคูลาร์ และมักพบในหญิงมากกว่าชาย ในช่วงวัย 20-50 ปี อาการที่น่าสงสัยคือเป็นก้อนที่คอค่อนข้างแข็ง ไม่เจ็บ แต่หากปล่อยไว้นานก้อนอาจโตและไปเบียดอวัยวะข้างๆ ทำให้กลืนอาหารลำบาก  มะเร็วต่อมไทรอยด์มักจะกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ตามด้วยปอดหรือกระดูก ซึ่งอาจใช้เวลานานนับ10ปี แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยเร็ว ส่วนใหญ่รักษาได้ 

กลุ่มโรค<strong>ไทรอยด์</strong> #2


ที่มา : รพ.เทพธารินทร์  , รพ.กรุงเทพพัทยา , รพ.ศิครินทร์

Khampo.com

สนใจสินค้า หรือ ต้องการพูดคุยปรึกษา เรื่องการดูแลสุขภาพ ติดต่อสอบถามพวกเรา KHAMPO.com (คำโพธิ์ด๊อดคอม) ได้เสมอค่ะ