การออกกำลังกาย กับ การชะลอวัย

<strong>การออกกำลังกาย</strong> กับ การชะลอวัย #1

การย้อนวัยสู่ความหนุ่มสาวที่ทุกคนสามารถทำได้ทันที แต่ต้องอาศัยวินัย นั่นก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ จากผลวิจัยที่ Harvard Medical School ในเดือนมีนาคม 2014 ได้กล่าวถึงผลกระทบของการแก่ชราต่อร่างกายเราที่น่าสนใจ

  • ความสามารถของหัวใจในการปั๊มเลือดไปเลี้ยงร่ายกายของคนเราจะลดลง 5-10% ในทุกๆ 10 ปี นี่เป็นสิ่งที่ทำให้คนชราใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับคนหนุ่มสาว
  • เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน เส้นเลือดในร่ายกายจะแข็งขึ้นไม่ยืดหยุ่น ขณะที่เลือดก็จะข้นและเหนียวมากขึ้น ทำให้ความดันเลือดจะสูงข้นอย่างชัดเจนเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
  • คนทั่วไปจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่ม 1.5-1.8กิโลกรัมต่อปี เมื่อมีอายุเข้าสู่วัยกลางคน และจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นไขมันทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไขมันเลว
  • ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยน เช่นผู้ชายจะมีฮอร์โมนเพศชาย ลดลง 1% ต่อปีหลังอายุ 40 ทำให้ทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกบางลง
การออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนเยาว์ และ แข็งแรงขึ้น การออกกำลังยังสามารถที่จะช่วยในเรื่องระบบประสาทในร่างกายอีกด้วย

ในส่วนการทดลองกับมนุษย์ที่น่าสนใจคือ การทดลองของ University of Texas Southwestern Medical School ที่ชื่อ The Dallas Bed Rest and Training Study ในปี 1966 ที่นำเอา เด็กหนุ่มสุขภาพดีจำนวน 5 คนมานอนบนเตียง และไม่ให้ออกกำลังกายเป็นเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ร่างกายของผู้ทดลองมีอาการแย่ลงเทียบเท่ากับคนอายุ 40 ปี คือความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้นแต่ความสามารถในการปั๊มเลือดลดลง ไขมันในร่างกายเพิ่มสูง และมวลกล้ามเนื้อลดลง หลังจากนั้นก็ให้ผู้ทดลองเข้าโปรแกรมออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ แล้วประเมินร่างกายอีกครั้ง พบว่าไม่เพียงแต่ร่างกายกลับมาแข็งแรงเท่านั้น ยังพบว่าตัวเลขต่างๆกลับดีขึ้นกว่าก่อนเริ่มทดลองเสียด้วย

การทดลองดังกล่าวยังมีความน่าสนใจอีกตรงที่ว่า ในอีก 30 ปีต่อมา 5 ผู้ทดลองคนเดิมได้กลับมาเข้าโปรแกรมอีกครั้ง โดยคราวนี้ไม่ได้ให้นอนบนเตียง 3 สัปดาห์อีกแล้ว แต่ได้วัดสุขภาพผู้ทดลองก่อนเข้าโครงการ พบว่าน้ำหนักโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 25% จาก เมื่ออายุ 20 ปี อัตราส่วนไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น 2 เท่าจาก 14% เป็น 28% นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดเพิ่มในขณะที่ความสามารถในการปั๊มเลือดลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นมา 30 ปี

หลังจากนั้นงานวิจัยได้ให้ผู้ทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 6 เดือน โดยโปรแกรมการออกกำลังจะมีการเดิน วิ่งจ็อกกิ้ง และการขี่จักรยาน ซึ่งมีความเหมาะสมกับคนอายุ 50 ปี ผลการทดลองหลังจากการออกกำลังกายพบว่าน้ำหนักของผู้ทดลองลดลงไปไม่มากเพียง 4.5กิโลกรัม แต่ตัวเลขอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความสามารถในการปั๊มเลือดของหัวใจ ย้อนกลับไปเท่าเมื่อผู้ทดลองอายุ 20 ปี การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการออกกำลังกายอย่างมากและยังแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายกับผลกระทบของความแก่ชราอีกด้วย

นอกจากการออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนเยาว์และแข็งแรงขึ้นแล้ว การออกกำลังยังสามารถที่จะช่วยในเรื่องระบบประสาทในร่างกายอีกด้วย โดยมีการทดสอบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยให้ผู้ทดลองออกกำลังกายแบบแอโรบิก พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เพราะโรคอัลไซเมอร์เองก็เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับความแก่ชรา

แหล่งข้อมูล
FB page : HackYourAge
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4340807/
https://www.health.harvard.edu/.../exercise-and-aging-can...

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

ควบคุมน้ำหนัก

บทความน่ารู้

คำถามยอดฮิต ทำไมเข้าสู่วัยทองแล้วอ้วนง่าย

คำถามยอดฮิต ทำไมอายุ 40+ หรือเข้าสู่ภาวะวัยทองถึงอ้วนง่าย คะคุณหมอ?เมื่อเอสโตรเจนตก อัตราการเผาผลาญต่ำลงเยอะตามไปด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง,น้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกฮอล์ และควรออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และควรรั...

อ่านต่อ

การเดินเร็ว ลดความดันได้

การเดินเร็วๆ หรือ Brisk Walk ช่วยลดความดันได้ดีพอๆ กับการวิ่ง การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดัน หลายคนสงสัยว่าการเดินเร็วจะสามารถลดความดันได้เท่ากับการวิ่งจริงหรือ?การเดินเร็ว 10-12 นาทีต่อกิโลเมตร หรือนับง่ายๆ คือ 100 ก้าวต่อนาที หรื...

อ่านต่อ

หลังวิ่งเสร็จ ควรกินอย่างไร

หลังวิ่งเสร็จ ควรกินอะไร เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟู ชดเชยพลังงานที่เสียไป และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการวิ่ง ร่างจะไม่แหลก เพราะถ้า กินหลังวิ่ง ให้ถูกตามหลักช่วยเสริมร่างกายให้ฟื้นฟูสภาพเต็มร้อยได้ เมื่อรู้สึกหายเหนื่อย ให้กินอาหารที่ให้พลังงาน และค่าความ...

อ่านต่อ

ดื่มน้ำมากไป ใช่ว่าจะดี

อะไรที่มากไป น้อยไป มักจะไม่ดี ดังเช่นการ ดื่มน้ำมากไปใช่ว่าจะดี มีผลเสียกับร่างกายดังนี้ทําให้เซลล์บวม ในร่างกายจะมีโซเดียมและโพแทสเซียม ช่วยรักษาสมดุล ของเหลวในร่างกาย เมื่อมีน้ําในเซลล์มากไป จะเป็นอันรายต่อเซลล์ประสาทโซเดียมต่ํากว่าปกติ หากดื่มน้...

อ่านต่อ

Weight Training มีประโยชน์อย่างไร

หลายคนที่เพิ่งหันมาวิ่งอาจจะคิดว่า แค่วิ่งอย่างเดียวก็พอต่อการดูแลสุขภาพแล้ว แค่นี้ก็น่าจะทำให้หุ่นดีได้ แต่จริง ๆ การวิ่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพราะนักวิ่งเองนั้นก็ต้องพัฒนากล้ามเนื้อของตัวเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นการ Weight Training ควบคู่ไปด้วยจึงเ...

อ่านต่อ