ออกกำลังกาย กระดูกไม่พรุน

<strong>ออกกำลังกาย</strong> กระดูกไม่พรุน #1

รารู้กันมานานแล้วว่าการออกกำลังกายทำให้กระดูกเราแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะเราควรสะสมความแข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก แต่การที่จะทำวิจัยเปรียบเทียบคนที่ออกกำลังกายกับไม่ออกกำลังกาย ผลที่ได้ก็ยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ อาหารที่กิน การพักผ่อน ความหนักในการออกกำลังกาย ฯลฯ

<strong>ออกกำลังกาย</strong> กระดูกไม่พรุน #4

จากการทดลองในคนคนเดียว โดยให้ร่างกายข้างหนึ่งออกกำลังกาย ส่วนอีกข้างหนึ่งไม่ต้องทำ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบ ทีมนักวิจัยจึงเลือกทำการศึกษากระดูกแขนของนักกีฬามืออาชีพ ว่ากิจกรรมที่เขาซ้อมกันอยู่นั้นส่งผลต่อขนาดและความแข็งแรงของกระดูกอย่างไร เทนนิส นั้นมีการใช้มือข้างเดียวในการตีอยู่แล้ว ซึ่งพบว่ากระดูกแขน (humeral diaphysis bone) ของนักเบสบอลในข้างที่ใช้ขว้างนั้นมีความแข็งแรงมากกว่าข้างที่ไม่ได้ตีถึงสองเท่าเลยทีเดียว โดยเป็นการวัดจากขนาดและความหนาแน่นของกระดูก

การออกกำลังกายตั้งแต่เด็ก สามารถช่วยเพิ่มผิวกระดูกภายนอกให้มีชั้นพิเศษทำให้กระดูกแข็งแรง

เมื่อไปศึกษาต่อในกลุ่มที่จบอาชีพนักกีฬาแล้ว ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 65-80 ปี และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฟิตร่างกายต่อ มวลกระดูกของข้างที่ใช้งานนั้นปรากฏว่ากลับมาเป็นปกติเท่ากับแขนอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ตี แต่ขนาดไม่เปลี่ยนเนื่องจากมวลกระดูกที่ลดลงนั้นส่วนมากลดจากภายในกระดูก ดังนั้นแม้มวลจะลดลงแต่กระดูกก็ยังมีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงมากกว่าอีกข้างอยู่ ผลบุญจากการออกกำลังกายนี้จะส่งผลดีกว่าการไม่ออกกำลังกายไปชั่วชีวิต และนักกีฬาที่ยังฟิตร่างกายต่อก็จะมีการเสียมวลกระดูกน้อย รักษาความแข็งแรงได้ดีกว่า

<strong>ออกกำลังกาย</strong> กระดูกไม่พรุน #3

โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี และ 1 ใน 5 ของผู้ชายอายุเกิน 60 ปี มีปัญหากระดูกพรุน และร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ ดังนั้นการออกกำลังกายตั้งแต่เด็กจะสามารถช่วยเพิ่มผิวกระดูกภายนอกให้มีชั้นพิเศษทำให้กระดูกใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นนาทีทองซึ่งพ่อแม่ต้องให้ความสำคัญ เพราะผลดีนั้นจะติดตัวเขาไปตลอดชีวิต และที่สำคัญไม่ว่าวัยใด การมีกิจกรรมทางกายต่างๆ ให้เพียงพอตลอดชีวิต ก็จะสามารถช่วยให้กระดูกนั้นรักษาความแข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

<strong>ออกกำลังกาย</strong> กระดูกไม่พรุน #2

คำแนะนำในการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กระดูกนั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำให้มีกิจกรรมที่มีแรงต้าน เช่น เวทเทรนนิ่ง กายบริหาร ที่มีความหนักที่เราทำได้ประมาณ 8-12 ครั้ง หรือถ้ายกได้เกิน 12 ครั้ง แสดงว่าเบาไป ร่วมกับกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนัก มีแรงกระแทก เช่น วิ่ง กระโดด ชกมวย ฯลฯ และจากงานวิจัยนี้เราก็สามารถเพิ่มกิจกรรมที่เน้นความเร็ว อย่างการขว้างบอล ชกลม ฯลฯ เข้าไปในโปรแกรมได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกออกกำลังกายได้หลากหลายและง่ายขึ้น

ที่มา : https://www.greenery.org/articles/healthycoach-stronger-bone/

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

บำรุงกล้ามเนื้อ กระดูก ไขข้อ

โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ หรือ อาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ปัญหาความเสื่อมของกระดูก เพิ่มขึ้นตามวัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แม้อาการของโรคข้อเสื่อมจะเป็นผลมาจากวัย...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ