เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

<strong>เบาหวาน</strong> ในช่วงโควิด 19 #1

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน วันนี้จึงมีวิธีการดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวานมาฝากกัน

ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

แม้ผู้เป็นเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน แต่ว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เนื่องจากผู้เป็นเบาหวาน หากควบคุมน้ำตาลไม่ดี จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ และเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เป็นเบาหวานมีอาการที่รุนแรงจากตัวโรคหรือผลการรักษาที่แย่กว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้เป็นเบาหวานสูงถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่พบเพียงร้อยละ 2.3

ด้วยเหตุนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีคำแนะนำในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

  • ตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น
  • เตรียมตัวให้พร้อมหากรู้สึกไม่สบาย หากมีอาการไข้สูง ไอ จาม หรือหายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • การติดเชื้อทุกชนิดสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายขาดน้ำ จึงควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
  • สำรองอาหาร โดยเฉพาะประเภทน้ำตาลให้เพียงพอสำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำได้ทันท่วงที
  • เช็กดูว่ายารักษาเบาหวานมีเพียงพอหรือไม่ หากคุณต้องถูกกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
  • หากอยู่บ้านคนเดียว หาคนที่สามารถไว้วางใจและมั่นใจว่าจะช่วยเหลือได้ รวมถึงติดต่อผู้เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหากจำเป็น

ทั้งนี้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ทำความสะอาดวัตถุหรือบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ เวลาไอหรือจามควรนำต้นแขนหรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปากและจมูก รวมถึงหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงต่อโรค คอยแนะนำหรือพูดคุยกับคนในครอบครัวถึงการป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

หากรู้สึกว่าตัวเองมีอาการป่วย หรือสงสัยว่าป่วย ให้แจ้ง (1) กรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ (2) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669

Credit : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด

อาการ เจ็บคอ ตัวร้อน ไอ จาม เป็นอาการของ "โรคหวัด" หรือ "ไข้หวัด" เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้นส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ อาการที่สำคัญของโรคมีทั้ง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ตัวร้อนมีไข้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจาก เชื้อหวัดซึ่งเป็นเชื้อไวรัส, ร...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง  โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น และสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ที่สังเกตุได้ชัดคือ เด็ก...

อ่านต่อ