กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเรื้อรัง มีอาการจุกคอ มีความเครียด ความกังวล นอนไม่หลับ เป็นแพนิค เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย สารอาหารในเลือดน้อย เป็นผลพวงมาจากการที่กระเพาะ และ ลำไส้ทำงานไม่ปกติ คนเป็นกรดไหลย้อนมักใช้ยาดลดกรดติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะไม่มีประสิทธิภาพ นานวันเข้าอาหารที่พี่ๆทานไม่สามารถย่อยได้หมด ทำให้ขาดสารอาหาร กินอะไรไปก็แทบไม่ได้อะไรเลย รวมถึงจุลินทรีย์ดีในลำไส้ที่มีน้อยก็มีผลทำให้การดูดซึมสารอาหารแย่ไปอีก พอกระเพาะ ลำไส้ทำงานได้ไม่ปกติ พี่ๆที่เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง จะมีปัญหาน้ำหนักเริ่มลงเรื่อยๆ ร่างกายซูบผอม สารอาหารไม่พอไปเลี้ยงสมอง จะมึนๆ เวียนหัว หัวใจก็ทำงานได้ไม่ดี รู้สึกใจสั่นทั้งๆที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ และไม่มีแรง เพลีย รู้สึกเบื่อหน่าย พอเป็นหนักขึ้น พี่ๆจะเครียด มีโอกาสทำให้เกิดภาวะแพนิคตามมาได้

ปกติ คนที่เป็นกรดไหลย้อน มักจะมีปัญหาการย่อย การดูดซึมอยู่แล้ว เพราะ นิสัยการใช้ชีวิตเมื่ออดีตที่ไม่ค่อยได้ดูแลสุขภาพ ใช้ชีวิตอยู่กับความเครียด หรือบางคนเวลาปวดท้องก็ชอบซื้อยาลดกรดมาทานบ่อยๆ จนทำให้ความเป็นกรดในกระเพาะลดลง เกิดปัญหาการย่อยการดูดซึม หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ และยังทำให้จุลินทรีย์ไม่ดีขยายพันธุ์ได้เร็วมาก เกิดปัญหาติดเชื้อในลำไส้ได้บ่อยๆ

เมื่อเป็นกรดไหลย้อน ก็จะเครียดเพิ่มขึ้น จนมีภาวะแพนิคร่วม แล้วพอมีอาการแพนิคเกิดขึ้น กรดไหลย้อนก็กำเริบ วนเวียนไปมาไม่รู้จักจบ เวลาที่เรามีปัญหาการย่อย การดูดซึม หลายท่านก็ได้หาจุลินทรีย์ดีมาทาน มีคุณหมอท่านนึงเคยบอกว่า เราจะไม่ต้องไปหาหมอเลย ถ้าเราทานจุลินทรีย์ดีเป็นประจำ แต่ในลำไส้ของเรามีทั้งจุลินทรีย์ตัวดี ตัวไม่ดี หรือตัวกลางๆ ที่ไม่ได้ก่อโรคและไม่ได้สร้างประโยชน์ จุลินทรีย์ตัวไม่ดีเนี้ย จะเก่งกว่าตัวดีเยอะมาก เราต้องใช้จุลินทรีย์ตัวดีมากถึง 10000 ตัว เพื่อกำจัดตัวไม่ดี 1 ตัว และในคนที่เคยมีนิสัย ชอบกินของหวานๆ แป้ง น้ำตาล ชีส เค้ก เบเกอร์รี่ ชานมไข่มุก ชาเขียวใส่นม นอนน้อย นอนไม่เป็นเวลา กำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก แสงแดดยามเช้าก็ไม่ได้สัมผัส และชอบกินยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ จะมีจุลินทรีย์ตัวไม่ดีเยอะมาก แถมมันยังวิวัฒนาการเร็ว ปรับตัวเก่งมาก จนยาฆ่าเชื้อต้องพัฒนาไล่ตามมันไม่ทันเลย ดังนั้นการที่เราจะขยายอาณาจักรของจุลินทรีย์ดี เราจำเป็นต้องมีเสบียงให้เขาออกไปสู้รบกับตัวไม่ดีด้วย

อาหารของจุลินทรีย์ดี

คนเป็นกรดไหลย้อนเลือกทานอาหาร กังวลใจกับการกินมากๆ จนบางทีไม่กล้ากินอะไรเลย กินแต่อาหารอ่อนๆ ข้าวต้ม โจ๊ก จนร่างกายก็ขาดสารอาหาร จุลินทรีย์ดีเลยขาดสารอาหารไปด้วย ทำให้ไม่มีแรงสร้างอาณาจักร ดังนั้นการใช้ซินไบโอติกที่ผสมอาหารไปด้วยเลย ก็เป็นทางเลือกที่ดี

การออกกำลังกาย

เราต้องออกกำลังกายค่ะ อย่างน้อยก็ 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ การพักผ่อนก็เช่นกัน เพราะยิ่งเราพักผ่อน เราก็สามารถเพิ่มจุลินทรีย์ดีได้มาหลายเท่า ปรับให้ลำไส้มีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่่งเขาจะเติบโตได้ดี โดยที่เราก็เสริมด้วย น้ำสับปะรดไซเดอร์ ซึ่งเป็นการนำผลไม้ของเมืองไทยเรา เหมาะกับกระเพาะคนไทยมากกว่า มาดื่มเสริม เพื่อปรับความเป็นกรดอ่อนๆให้ลำไส้ เมื่อจุลินทรีย์ตัวดี มีสุขภาพที่แข็งแรง สู้รบในทำเลที่ได้เปรียบ เขาจะทำหน้าที่ในการ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ไม่ดี ที่ก่อให้เกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ก็เลยเหมาะที่จะใช้ดูแลพี่ๆที่มีปัญหาการอักเสบ การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำให้ท้องหายอืด ไม่เกิดลมในท้อง อาการที่เกิดจากลมดันกรดขึ้นไปที่หลอดอาหารก็จะลดลง และหายได้ สร้างวิตามิน โดยเฉพาะบี 12 ที่ช่วยเรื่องของระบบประสาท การสร้างเม็ดเลือดแดง ให้เรามีแรง ไม่ซีด ไม่เหนื่อยง่าย ไม่เกิดอาการเหน็บชา สร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมองด้วย ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ความเศร้า ความกังวล อารมณ์เราก็จะค่อยๆดีขึ้น

จุลินทรีย์ดีในธรรมชาติ หาได้จากที่ไหน

  • น้ำหมักชีวภาพ
  • ผักกาดดอง หรือ กิมจิม
  • โยเกิต(ขอเน้นรสธรรมชาติ หรือทำเองได้ยิ่งดี) 
  • ยาคูลท์ 
  • และเสริมอาหารของจุลินทรีย์ตัวดี ก็คือ
  • กล้วยน้ำว้าดิบ
  • กระเทียม

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

ทางเดินอาหาร

ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานเหล่าบรรดามนุษย์ออฟฟิศในสังคมเมืองที่ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีภาวะเครียดสูง ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารและตับ มักสร้างความรำคาญและส่งผลอย่างมากต่อก...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ