Insulin resistance การดื้ออินซูลิน

Insulin resistance การดื้ออินซูลิน คือ ในเซลกระบวนการเผาผลาญกลูโคสและกรดไขมันเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกัน ระหว่างเผาน้ำตาล เซลจะเก็บไขมัน ระหว่างเผาไขมัน เซลจะเบรคการเผาน้ำตาล ปกติถ้าเซลไม่สะสมไขมันมาก ร่างกายจะสลับการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม แต่ถ้าเซลถูกทำให้สะสมไขมันมากเกินไปจนจำเป็นต้องกำจัดออกด้วยการเผาไขมันมากขึ้น เซลจะยับยั้งการนำน้ำตาลเข้าเซล(การดื้ออินซูลิน) หากเราไม่ลดน้ำตาลในอาหารลง(จะช่วยให้น้ำตาลในเลือดลดลง)แต่กลับเพิ่มอินซูลินเพื่อบีบให้น้ำตาลเข้าเซลเพื่อให้น้ำตาลในเลือดลดลงแทนโดยยังทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง กระบวนการจัดการของน้ำตาลที่เข้าเซลมากขึ้นจะทำให้การเผาหรือสันดาปกรดไขมันไม่สมบูรณ์ เกิดของเสียมากขึ้นจนเซลเป็นอันตราย(Incompleted B-oxidation) ดังนั้นในคนที่เป็นเบาหวาน การโฟกัสเพิ่มยาอินซูลินเพื่อลดน้ำตาลกลับทำให้อาการแทรกซ้อนระดับเซลไม่ดีขึ้นแม้น้ำตาลในเลือดจะดูดีก็ตาม

คนที่เป็นเบาหวาน การเพิ่มยาอินซูลินเพื่อลดน้ำตาล อาจทำให้อาการแทรกซ้อนระดับเซลไม่ดีขึ้น แม้น้ำตาลในเลือดจะดูดีก็ตาม

ที่มา : FB Page DietDoctor Thailand

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

หัวใจและหลอดเลือด ทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลาเพื่อนำเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย    ความผิดปกติในร่างกายที่มีผลกับระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ที่จะทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแดและแตกได้    โรคไขมันอุดตันเส้นเลือ...

อ่านต่อ

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ