พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

<strong>พลูคาว</strong> รับประทานอย่างไรให้<strong>ปลอดภัย</strong> #1

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ได้ ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการบริโภคพลูคาว โดยเฉพาะในรูปผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยเผยว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไต ควรระมัดระวังในการบริโภคอาหารเสริมจากพลูคาวเป็นพิเศษ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจได้รับผลข้างเคียงจากพลูคาวจนทำให้เกิดอาการบวมน้ำและมีภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้

ในประเทศไทย การผลิตอาหารเสริมจากพลูคาวนั้นได้รับการควบคุมมาตรฐานและกำหนดกระบวนการผลิตอย่างเคร่งครัด แต่เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดของตัวผู้บริโภคเอง ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากพลูคาว

  • ผู้บริโภคควรมีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงหลังใช้สารสกัดจากพลูคาว
  • กระบวนการผลิต กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพลูคาวต้องใช้กระบวนการสกัดด้วยการบดผง หรือ สกัดด้วยน้ำจากใบพลูคาวเท่านั้น ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
  • ไม่ควรบริโภคสารเควอซิทินจากอาหารเสริมเกิน 1 กรัม/วัน เพราะหากร่างกายได้รับสารเควอซิทินมากเกินไป อาจทำให้ไตเสียหายได้ ซึ่งผู้บริโภคศึกษาข้อมูลได้จากฉลากผลิตภัณฑ์

ที่มา pobpad.com

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บำรุงตับ

ตับเป็นอวัยวะชิ้นเดียวและเป็นหลักในการทำงานของร่างกายหลาย ๆ ส่วน ทั้งช่วยคัดกรองสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย สร้างน้ำดี ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ควบคุมการเผาผลาญ และอีกสารพัดหน้าที่ ถ้าตับทำงานผิดปกติขึ้นมาเมื่อไร โรคภัยต่าง ๆ นานาจะมารุมเร้า และเผลอ ๆ การที่ต...

อ่านต่อ

ป้องกันมะเร็ง

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ การมีโภชนาการที่ดีสามารถป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิดได้มากกว่า 1 ใน 3 และ หากเริ่มการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายและลดความเครียดได้ ก็จะ...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ