โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้คนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ป่วยมานาน และมีการควบคุมโรคได้ไม่ดีพอ

ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้

นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และ Metabolism สนทนากับ Better Health ถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหัวใจในฐานะที่เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยมากขึ้นทุกที

เบาหวานเสี่ยงหัวใจสูง

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

โรคเบาหวาน หมายความถึงภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเหตุให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติไป และสร้างความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือด

ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานาน และไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมได้ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึงร้อยละ 50-80

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงกว่า เพราะการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเพราะการอักเสบ หลอดเลือดตีบแคบลง หรือการที่หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ประกอบกับการที่ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น ความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินและการไม่ออกกำลังกาย ด้วยเหตุที่สภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกตินี้เอง ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานจึงส่งผลกระทบร้ายแรงอย่างเงียบ ๆ ไปทั่วร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งภาวะที่หลอดเลือดอ่อนแอ แตกง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #3
ปัจจุบัน เราพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเทียบเท่ากับผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยผ่านภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดครั้งแรกไปแล้ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานนั้นก็มีความร้ายแรง ต้องอาศัยการดูแลอย่างต่อเนื่อง รู้จริง และเป็นระบบ รีบปรับตัวก่อนจะสาย
อย่างไรก็ตาม นพ. วราภณให้ความมั่นใจว่า อนาคตของผู้ป่วยเบาหวานไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยโรคหัวใจเสมอไป

แม้จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติหลายเท่า รวมทั้งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรตั้งแต่ 2-4 เท่า แต่หากผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองดี ๆ ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหาร ใช้ยาเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน นพ. วราภณบอกวิธีง่าย ๆ ในการสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัว ดังนี้

  • คนในครอบครัว (บิดา มารดา พี่น้อง) เป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร (ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี หญิง อายุน้อยกว่า 65 ปี)
  • เป็นโรคเบาหวานมานาน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีมาตลอด 5 ปี
  • มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • อึดอัด เหนื่อย หายใจไม่ทัน หายใจไม่อิ่ม แต่อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ชัดเจน
  • สูบบุหรี่
  • มีภาวะเครียดเรื้อรัง

ตั้งใจดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารไม่เครียด รักษาสุขภาพจิตใจให้ดี และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน

<strong>โรคหัวใจ</strong>ในผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #4

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

พืชผักสมุนไพรป้องกันโรค COVID 19

พืชผักสมุนไพรที่มีศักยภาพใช้เป็นอาหารป้องกันโรค COVID-19 จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ (pandemic) ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ใน หลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้  การดูแลสุขภาพและการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการรับประทาน อาหารที่มีป...

อ่านต่อ

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ

ไม่ควรกินมื้อดึก

การกินอาหารตั้งแต่ช่วง 22.00 น.เป็นต้นไป ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย หลายคนปฎิเสธไม่ได้เพราะ หน้าที่การงานแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนจำเป็นต้องกินดึกจริงๆ เพราะเป็นเวลาว่างของการทำงานช่วงกะดึก แต่สำหรับบางคนที่เวลาทำงานปกติ แต่กับติดกินมื้อดึกเกือบทุกวัน สาเห...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สาหร่ายสไปรุลินากับระดับไขมันในเลือด

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำพิธีส่งมอบเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยโครงการ "ผลของการบริโภคสไปรุลิน่าต่อการทำงานของไตและระดับไขมันในเลือด"  โดยมีนักวิจัย คือ ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ...

อ่านต่อ

คอลลาเจน ไดเปปไทด์ คืออะไร

คอลลาเจนไดเปปไทด์ ไม่ได้มีดีแค่เรื่องผิว ที่ทานแล้วผิวดี ผิวลื่น เห็นผลไวกว่าคอลลาเจนทั่วไป แต่จริงๆแล้วคอลลาเจนไดเปปไทด์ยังมีประโยชน์กับร่างกายอีกมากคอลลาเจนไดเปปไทด์ คือ นวัตกรรมใหม่ของคอลลาเจนที่ถูกพัฒนามาซึ่งมีกรดอะมิโนเป็นโครงสร้างหลัก เรียงต่อ...

อ่านต่อ