ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

กระชายขาว ต้านโควิด19

งานวิจัยของม.มหิดล และ TCELS กับความสำเร็จในการพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรคโควิด-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จสารทั้งสองตัวนี้ในกระชายขาว สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นโควิด-19 ได้ โดยสารทั้งส...

อ่านต่อ

รีวิวผลิตภัณฑ์พาว น้ำสมุนไพรพลูคาว

ทานแล้วร่างกายกระปรี้กระเปร่า รสชาติ หอม ชื่นใจ พาวน้ำพลูคาว น้ำสมุนไพรขอบคุณรีวิวจากพรานศักดิ์ ยูทูปเบอร์จากช่อง พรานศักดิ์ วิถีอีสาน...

อ่านต่อ

เลิกกินยาแก้ปวด แล้วดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ

ปวดหัวถี่ไหม? ลองเลิกกินยาแก้ปวด แล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ ดูสินี่คือคำแนะนำจากคุณหมอท่านหนึ่งที่ผมได้ไปพบ หลังจากที่กังวลกับอาการปวดหัวของตัวเอง ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่มีอาการปวดหัวบ่อยมาก และทุกครั้งที่ปวดหัวก็ต้องหยิบยาพารากินแก...

อ่านต่อ

กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง

กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง และ ที่สำคัญควรเลี่ยงอาหารอะไรอย่างเด็ดขาด การรักษามะเร็งต้องมีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง และการใช้ยา ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเพื่อให้ร่างกาย เกิดการซ่อมแซมในส่วนที่เสียไปจากการรักษา เช่น การรับประทานอาหา...

อ่านต่อ

โปรตีนพาวอัพ กาน่าโกโก้

พาวอัพ โปรตีนพืชรสโกโก้  โปรตีนจากพืช 100%  โปรตีนรสโกโก้ สารสกัดโกโก้นำเข้าจากประเทศกาน่า เป็นช็อคโกแลตที่มีประโยชน์ อร่อย รสชาติไม่หวานใครที่ต้องเบิร์นหนัก แต่มีความอร่อยไปด้วย ก็ต้อง พาวอัพกาน่าโกโก้ ...

อ่านต่อ