อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมหรือหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ 

  • เลี่ยงรับประทานไขมันสัตว์  เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังเป็ดพะโล้ ก้นไก่ ก้นเป็ด มันไก่ หากจะรับประทานไก่ ให้เลือกส่วนอก และควรลอกหนังออก ใช้เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย คือ ปลา และไก่ไม่ติดหนัง (เลือกทานไก่บริเวณอก)
  • เลี่ยงรับประทานไขมันจากน้ำมะพร้าวแก่ เช่น กะทิข้น ควรงดแกงที่ใส่กะทิ กะทิทำขนม หรือหากเลื่ยงไม่ได้ควรใช้กะทิเทียม (ทำจากน้ำมันรำข้าว) หรือนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยแทนเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง  เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต มันสมอง ปลาหมึก หอยนางรม *จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน*   สำหรับเครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย จำกัดครั้งละ 2-3 ชิ้น
  • เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ ในการปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันพืชอื่นๆ
  • เลี่ยงแหล่งไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมพัฟและพาย มันฝรั่งทอด (French fried) น้ำมันทอดซ้ำ
  • ลดอาหารที่เติมน้ำตาล ทั้งขณะปรุงประกอบอาหาร หรือเติมขณะกินอาหาร ขนมหวานจัด เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง (สังเกตปริมาณน้ำตาลได้จากฉลากโภชนาการ)
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีผลทำให้ระดับ     ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (หากเลี่ยงไม่ได้ควรดื่มไม่เกิน 1 ดริ้งต่อวัน ได้แก่ เบียร์ 1 กระป๋อง หรือเหล้า 45มิลลิลิตร หรือ ไวน์ 150 มิลลิลิตร)
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย
  • เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลานึ่งกับผัก ปลาย่าง มะเขือเผา(ไม่ไหม้) อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย แทน อาหารผัดน้ำมันนองจาน อาหารทอดอบน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด
  • เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง   ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี ทานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง (อย่างไรก็ตาม ไขมันชนิดโอเมก้า 3 จัดเป็นไขมันชนิดหนึ่งในผู้ที่รับประทานในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากรับประทานในปริมาณที่มากก็สามารถทำให้อ้วนได้)
  • เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ (นมพร่องมันเนย) แทนนมสดครบส่วน
  • เลือกรับประทานไอศกรีมไขมันต่ำหรือเชอเบท แทนไอศกรีมกะทิและไอศกรีมที่ทำจากนมและครีม

ที่มาข้อมูล : ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเรื้อรัง มีอาการจุกคอ มีความเครียด ความกังวล นอนไม่หลับ เป็นแพนิค เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย สารอาหารในเลือดน้อย เป็นผลพวงมาจากการที่กระเพาะ และ ลำไส้ทำงานไม่ปกติ คนเป็นกรดไหลย้อนมักใช้ยาดลดกรดติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะไม่มีประส...

อ่านต่อ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ

สมุนไพร บำรุงตับ

ตับ อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่เสมือนเป็นโรงงานผลิต แปรรูป และโกดังเก็บสินค้า หน้าที่ของตับ คือ สร้าง+สังเคราะห์ น้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยไขมันและกำจัดพิษผ่านทางน้ำดี สร้างโปรตีน เอนไซม์และภูมิคุ้มกันของร่างกาย กำจัดของเสียจากอาหาร สารพิษ ย...

อ่านต่อ

พลูคาว สมุนไพรพื้นถิ่นที่น่าจับตามอง

พลูคาว หนึ่งในสมุนไพรมาแรงช่วงนี้ต้องยกให้พลูคาว พืชท้องถิ่นที่กลายเป็นเทรนด์สุขภาพ เพราะสรรพคุณที่โดดเด่น หากสงสัยว่าทำไมทั่วโลกถึงจับตามองสมุนไพรพื้นบ้านอย่างพลูคาว ดร.อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล ท่านอาจารย์ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณท์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ...

อ่านต่อ

อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลง

ระวัง! อาบน้ำแบบนี้ สุขภาพอาจแย่ลงอาบน้ำทันทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายได้รับกลูโคสไม่พอ เสี่ยงหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมหรือลื่นล้มในห้องน้ำอาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกาย ต้องรอร่างกายหายเหนื่อยก่อน 10-15 นาที ถ้าอาบทันทีอาจเสี่ยงไม่สบาย หรือช็อกได้อาบน้ำท...

อ่านต่อ