พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

โปรตีนจากพืช ต่างจากเวย์โปรตีน หรือไม่

โปรตีนจากพืช ต่างจากเวย์โปรตีนอย่างไร?โปรตีนจากพืช คือโปรตีนที่ได้มาจาก พืช ผัก ผลไม้ เห็ดและธัญพืชชนิดต่างๆเวย์โปรตีน คือ โปรตีนรที่สกัดมาจากนมวัว หางนมโปรตีนจากพืชเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับคนที่แพ้นมวัว ไข่ แพ้แลคโตส และต้องการเสริมโปรตีน ต้องก...

อ่านต่อ

ขิงมีประโยชน์

ขิงมีประโยชน์หลากหลายอย่างมากๆ วันนี้เลยจะพาทุกคนนำขิงไปประกอบอาหารกัน ขิงทำได้ทั้ง ต้ม ผัด แกง และ ทอด ในส่วนของคาวก็สามารถทำได้ทั้งกับข้าว และเครื่องเคียง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ผัดขิง ด้วยความเผ็ดร้อนที่ออกมาจากตัวขิงทำให้เมนูนี้ครบรส และประโยชน์เพียบ ห...

อ่านต่อ

ช่องคลอดแห้ง เจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์

ผู้หญิงที่อยู่ในวัย 50-70 ปี จำนวน 2 ใน 3 มักพบปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์กับสามี และพบว่าร้อยละ 72 มาจากช่องคลอดแห้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทอง และเมื่ออาการวัยทองมาเยี่ยมเยียนผู้หญิงทุกคน ปัญหาหนึ่งที่ตามมาคือ สัมพันธ์รักที่ดำเนิน...

อ่านต่อ

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี...

อ่านต่อ

แห้ง คัน มีกลิ่น ปัญหากวนใจของคุณผู้หญิง

อาการแห้ง คัน มีกลิ่น บริเวณน้องสาว หรือช่องคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไรและเราจะดูแลรักษายังไง?โดยปกติตรงบริเวณของช่องคลอดของคุณผู้หญิง จะมีพวกจุลินทรีย์ประจำถิ่น หรือที่เรียกว่า Normal flora เมื่อตรงบริเวณช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลมีค่ากรดหรือด่าง เช่น อาจ...

อ่านต่อ