ภาวะสมองเสื่อมเร็ว โรคซีเจดี

กรมการแพทย์เผยช่วงวัย 40-60 ปีขึ้นไป เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรุนแรงในเวลารวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออนในสมอง นพ.สมศักดิ์อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จะมีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมากถึง 6-8 แสนคน ส่วนมากพบในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป  แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมรุ่นแรงในเวลารวดเร็วภายใน 1-2 ปี พบในช่วงอายุ 40-60 ปี เป็นคนวัยทำงาน โรคกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง (Rapidly progressive dementia) โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในสมอง สมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำงานไวผิดปกติ การได้รับสารพิษ ภาวะขาดสารอาหารรุนแรง โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก และเนื้องอกในสมอง ถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีจะได้ช่วยชะลอความเสื่อมถอยด้านความจำ หรือความจำกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนป่วยได้ แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ ส่งผลทำให้เกิดทุพพลภาพในระยะเวลาอันสั้น คือโรคซีเจดี เกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า พรีออน (Prion)เป็นโปรตีนลักษณะพิเศษ ที่ทำให้โปรตีนอื่นกลายสภาพเป็นโปรตีนพรีออนผิดปกติที่เพิ่มมากขึ้นเองได้ เมื่อเข้าสู่สมองคน ในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูกลับสู่ภาวะปกติได้อีก คือ โรคซีเจดี ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนพรีออน (Proion) เมื่อโปรตีนผิดปกตินี้เข้าสู่สมองในระยะเวลาไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นฟูได้

การสังเกตอาการโรคซีเจดี

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซีเจดีพบในทุกเพศ ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 55-75 ปี โดยมีอาการพฤติกรรม มีภาวะเสื่อมถอยด้านความคิดและความเสื่อมถอยด้านความจำในระยะเวลาที่รวดเร็วและรุนแรงในช่วงไม่กี่เดือน  และพบว่ามีพฤติกรรมและจิตใจที่ผิดปกติ เช่น เห็นภาพหลอน เอะอะโววาย หรือเฉยเมย การพูดและการเคลื่อนไหวช้าลง ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการกระตุกตามแขนขาและลำตัวแบบไม่รู้สาเหตุ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กระทั้งนอนติดเตียง

สาเหตุของโรคเกิดได้จาก

  • ความเสื่อมถอยของโปรตีนและสารเคมีในสมอง
  • โรคพันธุกรรมในครอบครัว
  • ถ่ายทอดแบบการติดเชื้อ เช่น เคยติดเชื้อจากการกินเนื้อวัวที่เป็นโรควัวบ้า 

การรักษาโรคซีเจดี

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด  และมีการตรวจพบผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอาการสงสัยทางอาการ แพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ส่งตรวจ MRI ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง และตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจสารเคมีในสมอง และอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการพฤติกรรมวุ่นวายและลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ใกล้ชิดสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการที่เข้าได้กับโรคซีเจดี ควรรีบพาพบแพทย์โดยเร็ว

ที่มา :  สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย และ ข่าวไทยพีบีเอส

POW พาวโปรตีน พาวอัพกาน่าโกโก้ POW Upz

POW UPZ พาวอัพ โปรตีนพาว โปรตีนจากพืช Multiplant Protein สำหรับสายออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ ลีน  สายลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน เพิ่มการเผาผลาญ อิ่มนาน ลดการอักเสบในร่างกาย ปราศจากน้ำตาล อร่อยและหอมด้วยโกโก้ นำเข้าจากประเทศกาน่า แหล่งวัตถุดิบคุณภาพดีที...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ

วิธีปลูกกระชายขาวแบบง่ายๆ สมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 หลังจากการศึกษาและงานวิจัยจากหลายแหล่ง รวมไปถึงโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน...

อ่านต่อ

ลำใส้ดี สุขภาพดี

เชื่อหรือไม่ว่าสุขภาพเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลำไส้เป็นส่วนสำคัญ? ยิ่งลำไส้ของเรามีสุขภาพดีมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็ยิ่งมีสุขภาพดีตามไปด้วย เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หากร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส...

อ่านต่อ

ประโยชน์ กระชายขาว

กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบกระชายขาวสกัด เป็นยาต้านไวรัส โควิด-19 ได้ดี 100%การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้...

อ่านต่อ

อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูงหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อตรวจพบและทราบว่ามีไข...

อ่านต่อ

พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์...

อ่านต่อ