ไม่ออกกำลังกาย เสี่ยงกว่า ผู้ป่วยเบาหวาน

<strong>ไม่ออกกำลังกาย</strong> เสี่ยงกว่า ผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #1

เราทราบกันดีว่า การออกกำลังกายช่วยให้ชีวิตยืนยาวขึ้นได้ การไม่ออกกำลังกาย อาจให้ผลร้ายมากกว่าการสูบบุหรี่ หรือเป็นโรคเบาหวาน และ โรคหัวใจเสียอีก

การวิจัยเรื่องผลของการ ไม่ออกกำลังกาย จัดทำขึ้นโดยนักวิจัยที่โรงพยาบาล Cleveland Clinic ในรัฐโอไฮโอ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 122,000 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มาใช้บริการลู่วิ่งออกกำลังกายที่โรงพยาบาลดังกล่าว ระหว่างปี ค.ศ. 1991 ถึง 2014

นักวิจัยได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมทั้งอัตราและสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยบางส่วน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลการออกกำลังกายของผู้ป่วยเหล่านั้น

โดยสิ่งที่ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากรายงานชิ้นอื่นๆ คือ นักวิจัยใช้ข้อมูลจริงจากการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายของกลุ่มตัวอย่างจริงๆ นั่นคือการให้วิ่งบนสายพานหรือลู่วิ่งเทรดมิลล์ ซึ่งไม่ใช่การให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลด้วยตัวเอง

ในผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในสารวาร JAMA Network Open เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายแพทย์วาเอล แจเบอร์ (Dr.Wael Jaber) ผู้ร่วมจัดทำรายงาน ระบุว่า

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย หรือมีสภาพร่างกายที่ไม่ฟิต มีโอกาสเสียชีวิตเทียบเท่าหรือมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน

รายงานยังพบด้วยว่า ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโรคไตถึง 2 เท่า และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่สูบบุหรี่ และหากเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากที่สุดแล้ว พบว่า ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่าถึง 5 เท่า ที่สำคัญ ความเสี่ยงที่ว่านี้มิได้จำกัดอยู่กับอายุหรือเพศ นั่นหมายความว่า ทุกเพศทุกวัยสามารถได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายได้เท่าเทียมกัน รายงานยังบอกด้วยว่า การออกกำลังกายในทุกระดับสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้

ด้านนายแพทย์จอร์แดน เม็ตซ์ล (Dr.Jordan Metzl) แห่งฝ่ายเวชศาสตร์การกีฬาของโรงพยาบาลแห่งนี้ ชี้ว่า โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ถือว่าเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด ในแต่ละปีต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาสองโรคนี้เฉพาะในสหรัฐฯ สูงมาก ซึ่งการกระตุ้นให้ผู้ป่วยและคนทั่วไปออกกำลังกายมากขึ้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มหาศาล นักวิจัยระบุส่งท้ายว่า

การขาดการออกกำลังกายนั้น ควรถูกระบุว่าคล้ายอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องการใบสั่งยาจากแพทย์ ก็คือคำสั่งให้ไปออกกำลังกายนั้นเอง

<strong>ไม่ออกกำลังกาย</strong> เสี่ยงกว่า ผู้ป่วย<strong>เบาหวาน</strong> #2

ขอขอบคุณ : sanook

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพหญิง

บทความน่ารู้

วัยทองต้องรู้ ประเภทของ วัยทอง

อาการเมื่อเข้าสู่วัยทอง แบ่งได้เป็น2ประเภท คือ แบบธรรมชาติ ประจำเดือนหมดไปตามวัย  ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงตามลำดับ ก็จะมีอาการนอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบ คันยุบยิบตามตัว  แบบฉับพลัน เกิดจากการผ่าตัดเอามดลูกออก ผ่าตัดเอารังไข่ออก แบบนี...

อ่านต่อ

ทำความรู้จัก ใบพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือและอีสานของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย เรื่อยมาจนถึงจีน เวียดนาม ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมี...

อ่านต่อ

ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์&n...

อ่านต่อ

พลูคาว สรรพคุณ และประโยชน์

พลูคาว ( Plu Kaow ) เป็น พืชสมุนไพรพื้นบ้านมีประโยชน์ สรรพคุณ ทางยามายาวนาน ทั้งใช้เป็นอาหารสมุนไพร เนื่องจากต้นและใบจะมีกลิ่นแรง ซึ่งนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคสดกับอาหารประเภทลาบ น้ำพริก มีการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับพลูคาว และมีรายงาน...

อ่านต่อ

อาการร้อนวูบวาบจากวัยทอง

ในบรรดาอาการทั้งหมดที่เกิดกับผู้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการร่วมที่เกิดขึ้นมากที่สุดและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุดอย่างหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกถึง 2 ปีของวัยใกล้หมดประจำเดือน และสามารถต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาถึง 10 ป...

อ่านต่อ