พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

กาแฟพาว เอส คอฟฟี่ POW S Coffee

กาแฟพาวเอส PowSCoffe ด้วยส่วนผสมที่ลงตัว อร่อย รสชาติเข้มข้น ไม่มีไขมันทรานส์ ไม่มีน้ำตาล พาวเอสคอฟฟี่ เร่งเบิร์น คุมหิว อิ่มนาน เพื่อสุขภาพและความอร่อยที่ลงตัวส่วนประกอบ1. ครีมเทียมจากน้ำมันมะพร้าว2. ผงกาแฟโรบัสตาคั่วสำเร็จรูป3. พาลาทิโนส4. น้ำมันเอ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

ปรับสมดุลร่ากาย ด้วย โพรไบโอติก

ถ้าตรวจสุขภาพเมื่อไหร่ ค่าไขมันในเลือดออกมาทีไรเป็นอันต้องกุมขมับทุกที ค่าเลือดที่พุ่งแรงแซงค่าอื่นก็คงไม่พ้น  คอเลสเตอรอล ค่ายิ่งสูงร่างกายยิ่งพัง ระวังจะตามมาด้วยโรคอีกนับสิบ แต่ละวันคุณเติมไขมันตัวร้ายเข้าสู่ร่างกายไปเท่าไหร่ ทั้งการกินอาหาร...

อ่านต่อ

ขิงมีประโยชน์

ขิงมีประโยชน์หลากหลายอย่างมากๆ วันนี้เลยจะพาทุกคนนำขิงไปประกอบอาหารกัน ขิงทำได้ทั้ง ต้ม ผัด แกง และ ทอด ในส่วนของคาวก็สามารถทำได้ทั้งกับข้าว และเครื่องเคียง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ผัดขิง ด้วยความเผ็ดร้อนที่ออกมาจากตัวขิงทำให้เมนูนี้ครบรส และประโยชน์เพียบ ห...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้วิ่ง มากกว่าเดิน

มนุษย์ถูกออกแบบมาให้วิ่ง มากกว่าเดิน และการวิ่งได้นานๆทำให้มนุษย์มีเนื้อกินเชื่อว่าหลายคนเข้าใจว่า การที่มนุษย์ล่าสัตว์ได้นั้น ก็เพราะเรามีสมองที่สามารถคิด ประดิษฐ์อาวุธได้ คือธนูและหอก สำหรับล่าสัตว์มาเป็นอาหาร เมื่อหลายล้านปีก่อน นั่นเป็นเรื่องที่เ...

อ่านต่อ

เห็ดหลินจือ และสรรพคุณ

เห็ดหลินจือ เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่ส...

อ่านต่อ