อะไรคือตัวกำหนด อายุขัยของสิ่งมีชีวิต

อะไรคือตัวกำหนด อายุขัยของสิ่งมีชีวิต #1

สิ่งมีชีวิตบนโลก ในความเป็นจริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันตั้งแต่นับพันล้านปีก่อน ตั้งแต่โมเลกุล RNA/DNA กำเนิดขึ้นมา เริ่มมีการแบ่งตัวกลายเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างซับซ้อนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่าในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงเองก็มียีนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่นับพันล้านปี ที่มีคุณลักษณะของการเอาตัวรอด แต่ในเมื่อสิ่งมีชีวิตมียีนที่มีคุณลักษณะของการเอาตัวรอดดังกล่าว แล้วทำไมเราถึงไม่มีร่างกายเป็นอมตะ นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะบรรพบุรุษของเราสุดท้ายก็เป็นผู้ถูกล่าและ ต้องตายไป ดังนั้นร่างกายจึงไม่ได้พัฒนาให้อยู่อย่างยาวนานในทางธรรมชาติ

จะเห็นว่าห่วงโซ่อาหารเป็นตัวหนึ่งที่กำหนดอายุขัยของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราจึงเห็นหนูมีอายุเพียงไม่เกิน 3ปี ในขณะที่นกบางชนิดที่เป็นผู้ล่าจึงมีอายุถึง 100ปี เช่นเดียวกันกับที่เราจะพบสัตว์เช่นกิ้งก่าบางชนิดในเกาะที่ห่างไกลของญี่ปุ่นมีอายุหลายสิบปี เนื่องจากในเกาะไม่มีผู้ล่าเลยจนกิ้งก่าพัฒนาตัวเองจนกลายเป็นผู้มีอายุยืน แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าวก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติที่เลือกสรรไม่ให้สิ่งมีชีวิตใดมีร่างกายอมตะพร้อมๆไปกับยีนที่ต้องการเอาตัวรอดไปได้ แล้วมนุษย์ล่ะจะสามารถอยู่เหนือกฏเกณฑ์ดังกล่าวได้ไหม

ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่ามนุษย์ผ่านอะไรมาบ้าง ในอดีตมนุษย์ก็เป็นผู้ล่าแต่มิได้มีความสามารถที่จะเอาชนะได้ทุกสิ่ง หลายๆคนสับสนคำว่าอายุขัย ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับตั้งแต่มนุษย์คนนึงเกิดจนถึงตาย กับอายุคาดหวังเฉลี่ย ซึ่งเป็นตัวเลขสถิติเฉลี่ยที่คาดว่ามนุษย์จะมีชีวิตซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยนับรวมมนุษย์ทุกคนที่อาจจะตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บ การอดอาหาร สงคราม หรืออื่นๆด้วย ซึ่งอายุคาดหวังเฉลี่ยของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่ก่อนปี 1800 นั้นอยู่ที่ประมาณ 30 ปีเท่านั้น ด้วยความรู้ทางสาธารณสุขที่จำกัดทำให้มีการเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย แต่หลังจากปี 1900 เป็นต้นมา อายุคาดหวังเฉลี่ยของมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนมากกว่า 70 ปี ในปัจจุบัน (เกิน 80 ปีในยุโรปหลายๆประเทศ และ 85 ปีในญี่ปุ่น) เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขนั่นเอง

แล้วตัวเลขอายุขัย ของมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเท่าไหร่และมีการเปลี่ยนแปลงไหม จากในอดีตเมื่อ 2 พันปีที่แล้ว มีบุคคลชื่อ Pliny ได้บันทึกใน The Natural History ได้คนที่มีอายุมากที่สุดได้ที่ประมาณ 100-115 ปีทีเดียว แสดงถึงว่าอายุขัยของมนุษย์นั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 2 พันปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตประเภท Primate (ลิงที่ใช้มือได้) ที่มีอายุยืนที่สุด

แล้วมนุษย์เราได้เดินทางมาถึงขีดจำกัดที่สูงสุดของอายุขัยหรือยัง ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกัน เราจะแปลกใจว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(ซึ่งถือว่ามีความใกล้ชิดมนุษย์ อย่าง วาฬหัวคันศร (Bowhead Whale) มีอายุถึง 200 ปี ส่วนสัตว์น้ำชนิดอื่นที่มีอายุขัยมากกว่านี้คือ Greenland Shark ที่ส่วนใหญ่มีอายุถึง 200 ปีแต่พบว่าบางตัวมีอายุถึง 400 ปี หรือหอยที่มีชื่อว่า “Ming” the calm ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี ถ้าไปดูสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชบ้างเราจะพบความน่าตกใจยิ่งกว่า ยกตัวอย่างเช่นต้น Jurupa Oak ที่มีอายุอย่างต่ำ 13,000 ปี ถึงมากที่สุด 30,000 ปี !! และแน่นอนว่าที่สุดของสิ่งมีชีวิตนั่นคือ แมงกระพรุนอย่าง Immortal Jellyfish ที่สามารถย้อนอายุให้ตัวเองได้เมื่อมีการบาดเจ็บหรือความเครียด ทำให้สัตว์ชนิดนี้สามารถมีชีวิตอมตะ

การมีอายุยืนยาวหรือเป็นอมตะนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเรื่องเหล่านี้ยังไม่สามารถทำได้ในมนุษย์ แต่ใครจะรู้ว่าสักวันเราอาจจะสามารถไขความลับดังกล่าวก็ได้ โดยนักวิทยาศาสตร์หลายคนมีความเชื่อว่าการค้นพบดังกล่าวน่าจะอยู่ในอนาคตอันใกล้ๆนี้

แหล่งข้อมูล

FB Pages : HackYourAge

Lifespan – Whey We Age and Why We Don’t Have to (Dr. David Sinclair)

https://en.wikipedia.org/wiki/Life_expectancy

https://en.wikipedia.org/wiki/Maximum_life_span

https://www.bbc.com/.../20181002-how-long-did-ancient...

https://www.pnas.org/content/107/suppl_1/1718

https://onekindplanet.org/.../top-10-worlds-longest.../

https://en.wikipedia.org/.../List_of_longest-living...

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

เบาหวาน มีตัวช่วย

โรคเบาหวาน ถึงจะมีตัวช่วยสมุนไพร อาหารเสริมอื่นๆ แต่ก็อย่าชะล่าใจไปนะครับ ยังไงก็ต้องรู้ว่าอะไรห้ามทาน อะไรทานแบบจำกัด อะไรที่ทานได้สบาย แล้วชีวิตจะมีความสุข สนุกกับการทานอาหารมากขึ้น พาวซูการ์คิว มีส่วนผสมของสมุนไพรคุมน้ำตาลหลายตัวที่มีงานวิจัยม...

อ่านต่อ

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคทางภูมิคุ้มกันเหมือนกัน แต่กลไกการเกิดต่างกัน ฉะนั้นโรคทั้งสองจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย  โรคทางภูมิแพ้เป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายของกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเร็วมากเกินกว่าปกติ จึงทำให้เกิด...

อ่านต่อ

โปรตีนของพาว คือโปรตีนแบบไหน มีกี่สูตร

โปรตีนของพาวมี 2สูตร คือ พาวอัพ กับ พาวเดลี่ ทั้ง2สูตร มีส่วนผสมที่เหมือนกันคือใช้โปรตีนจากพืชรวม 5ชนิด คือ ถั่วลันเตา, ข้าว, เมล็ดฟักทอง, เมล็ดทานตะวัน และ ถั่วเหลืองมีสารสกัดจากพลูคาว ช่วยลดการอักเสบในร่างกายวิตามินรวม พรีมิกซ์ เป็นวิตามินและแร่ธา...

อ่านต่อ

ทานปลาดีอย่างไร

โปรตีนมีดีที่ย่อยง่าย โดยทั่วไปในเนื้อปลามีโปรตีนประมาณร้อยละ 17-23 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารของเราไม่ต้องทำงานหนัก อีกทั้งโปรตีนยังมีประโยชน์ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรือส่วนต่างๆ ที่สึกหรอ และเสริมสร้างร่า...

อ่านต่อ

ผงอาร์ทิโชก ต้านอนุมูลอิสระ

ผงอาร์ทิโชก (Artichoke Powder) อาร์ทิโชก อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีสารสำคัญคือ ซิไลมาริน (Silymarin) เป็นฟลาโวนอยด์ที่อยู่อาร์ทิโชก  มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป...

อ่านต่อ