ออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนดี

<strong>ออกกำลังกาย</strong> ช่วง<strong>เวลาไหน</strong>ดี #1

เช้า สาย บ่าย เย็น ช่วงไหนควรออกกำลังกายมากที่สุด ช่วงเวลาในการออกกำลังกายส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราหรือไม่?

ออกกำลังกายตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืน

จากรายงานการศึกษาล่าสุดพบว่า ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานหรือไม่ ผลที่พบว่า มีความเป็นไปได้ เช่น ในกลุ่มผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 พบว่า การออกกำลังกายในช่วงกลางวัน ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าที่พวกเขาออกกำลังกายแบบเดิมในช่วงเช้าๆ สายๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในแต่ละคนอาจได้ผลแตกต่างกันตามปัจจัยอื่นๆ

แต่ทฤษฎีที่พอจะเป็นไปได้ คือการออกกำลังกายให้ตรงกับเวลานาฬิกาชีวิตของเราคือสิ่งที่ดีที่สุด นาฬิกาชีวิตของเราให้ทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงกลางวันที่มีแสงแดด และนอนหลับพักผ่อนในช่วงกลางคืนที่พระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว นอกจากนี้หากเลือกออกกำลังกายตอนกลางวันยังเป็นช่วงเวลาที่จัดสรรเวลาในการกินอาหาร และเวลาพักผ่อนคลายเครียดในช่วงกลางคืนได้อีกด้วย

การออกกำลังกายในช่วงกลางวัน ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าที่พวกเขาออกกำลังกายแบบเดิมในช่วงเช้า

ซึ่งตรงกับผลงานวิจัยที่ระบุว่า คนที่ทำงานในตอนกลางคืน พักผ่อนตอนกลางวัน มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงาน และอาจเสี่ยงโรคเบาหวานประเภท 2 ได้มากกว่าคนทั่วไป รวมถึงคนที่มักกินอาหารตอนกลางคืน จะดีกว่าถ้าเราเลือกกินอาหาร และนอนหลับในช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการออกกำลังกายในตอนกลางวัน มากกว่าตอนกลางคืน

ออกกำลังกายตอนเช้า ตอนบ่าย หรือ ตอนเย็น

งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า การออกกำลังกายตอนเช้าจะให้ผลดีในแง่ของการเผาผลาญไขมัน และลดน้ำหนัก แต่ในทางปฏิบัติการออกกำลังกายในตอนเช้าอาจคาบเกี่ยวกับช่วงเวลาในการกินอาหารเช้า และจากงานวิจัยในปี 2019 อีกชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ชายที่เสี่ยงโรคเบาหวานประเภท 2 แล้วออกกำลังกายอย่างหนักในตอนกลางวันไปถึงบ่าย ร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีใน 2 สัปดาห์ ให้ผลดีกว่าการออกกำลังกายแบบเดียวกันในตอนเช้า

ออกกำลังกายตอนเช้าจะให้ผลดีในแง่ของการเผาผลาญไขมัน และลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างหนักในตอนกลางวันไปถึงบ่าย ร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่า

แม้ว่าจะยังหาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้ว่าทำไมการออกกำลังกายในตอนกลางวัน บ่ายๆ ไปถึงเย็นได้ผลดีกว่าการออกกำลังกายในช่วงเวลาเช้าตรู่ แต่ Dr. Patrick Schrauwen อาจารย์ประจำคณะโภชนศึกษาและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัย Maastricht University Medical Center ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สันนิษฐานว่า การออกกำลังกายในตอนกลางวัน บ่าย ไปจนถึงเย็น อาจส่งผลไปถึงอาหารการกินที่เรากินต่อหลังออกกำลังกายเสร็จ ร่างกายที่เพิ่งออกกำลังกายมาใหม่ๆ อาจช่วยให้การเผาผลาญพลังงานที่ได้รับจากอาหารมื้อถัดไปทำได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานจากอาหารที่เพิ่งกิน ก่อนที่จะล้มตัวลงนอนเป็นการสิ้นสุดกิจกรรมในวันนั้น สอดคล้องกับการใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวิตพอดิบพอดี

อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายให้ได้ผลดีต่อร่างกาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความสม่ำเสมอ หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด ก็จะส่งผลดีต่อร่างกายได้อย่างแน่นอน

กาแฟพาว เอส คอฟฟี่ POW S Coffee

กาแฟพาวเอส PowSCoffe ด้วยส่วนผสมที่ลงตัว อร่อย รสชาติเข้มข้น ไม่มีไขมันทรานส์ ไม่มีน้ำตาล พาวเอสคอฟฟี่ เร่งเบิร์น คุมหิว อิ่มนาน เพื่อสุขภาพและความอร่อยที่ลงตัวส่วนประกอบ1. ครีมเทียมจากน้ำมันมะพร้าว2. ผงกาแฟโรบัสตาคั่วสำเร็จรูป3. พาลาทิโนส4. น้ำมันเอ...

ดูรายละเอียด

สุขภาพชาย

บทความน่ารู้

ช่วยร่างกายลดการอักเสบ ได้ไม่ยาก

การอักเสบ (Inflammation)  จัดเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค หรือสิ่งที่จะทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ผลของการอักเสบจะทำให้ร่างกายกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปรวมทั้งมีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหาย  อย่างไร...

อ่านต่อ

พาวอัพ POW Upzโปรตีนพืช 5 ชนิด

อัพพลังงานยาวนาน พร้อมลุยทุกกิจกรรม พาวอัพ POW Upz พาวโปรตีน โปรตีนจากพืช 5 ชนิดพร้อมสารสกัดพลูคาว เพื่อให้ได้โปรตีนจากพืชพรีเมียมที่ดีที่สุดอร่อยหอมมัทฉะพรีเมียม จึงได้มาเป็นโปรตีนพาว พาวอัพ โปรตีนสูง 21 กรัมโปรตีน ต่อ1ซอง น้ำหนัก 30 กรัม เพี...

อ่านต่อ

คอลลาเจนผสมแคลเซียม สำคัญอย่างไร

สำหรับคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปแล้วเริ่มมีอาการปวดเข่า คงจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาการปวดเข่า เจ็บข้อนั้นเกิดจากร่างกายมีสามารถในการสร้างคอลลาเจนชนิดที่2 ได้น้อยลงจากเดิม หรือร่างกายขาดคอลลาเจน จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่าและปวดข้อต่อต่างๆหลายคนเลยเลือกวิธ...

อ่านต่อ

พืชผักผลไม้ ป้องกันCOVID19

พืชผักสมุนไพร 3 กลุ่มที่แนะนำให้บริโภคในช่วง Covic-19 ระบาด1.กลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน  คือ พืชผักจำพวก พลูคาวหรือผักคาวตอง เห็ดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดออริจิ เห็ดหลินจือ (มีสารเบต้ากลูแคนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน) ตรีผล...

อ่านต่อ

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคทางภูมิคุ้มกันเหมือนกัน แต่กลไกการเกิดต่างกัน ฉะนั้นโรคทั้งสองจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย  โรคทางภูมิแพ้เป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน ที่ร่างกายของกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเร็วมากเกินกว่าปกติ จึงทำให้เกิด...

อ่านต่อ