เป้าหมายหลักของการดูแลเบาหวาน

เป้าหมายหลักของการดูแล<strong>เบาหวาน</strong> #1

เป้าหมายของการดูแลเบาหวาน คือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีสำหรับคนที่เป็นเบาหวานต้องควบคุมให้ได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารตอนเช้าควรอยู่ประมาณ 90-110มก./ดล. ส่วนหลังอาหารต่ำกว่า 180มก./ดล. หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรคได้เท่าไร ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของโรคและทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดง่ายขึ้นเท่านั้น

ไม้บรรทัดวัดคุณภาพการควบคุมโรคเบาหวานที่ดี คือ การวัดระดับฮีโมโกลบินเอวันซี หรือที่เรียกว่า HbA1C คือ ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสม หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าค่าน้ำตาลสะสม HbA1C เกิดจาก การที่น้ำตาลในเลือดไปจับกับฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่พาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 3 เดือน ดังนั้นการตรวจ HbA1c จึงเป็นการบ่งบอกระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

เป้าหมายหลักของการดูแล<strong>เบาหวาน</strong> #2

การวัดระดับ HbA1C ช่วยทำให้มองเห็นภาพของคุณภาพ การควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ชัดเจน

เพราะไม่ใช่ค่าที่ขึ้นลงจากอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ ดังนั้นผู้ที่ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าแล้วปกติดี แต่ระดับHbA1Cยังสูงอยู่ แสดงว่ายังควบคุมอาหารการดูแลตัวเองยังไม่ดีพอ ทำให้ระดับน้ำตาลหลังอาหารสูงอยู่การควบคุม HbA1C ให้ลงมาต่ำกว่า7%จะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆของเบาหวานได้

ทุกๆ1%ของHbA1C ที่ลดลง สามารถลดโรคแทรกซ้อน ได้ถึง 21%

นอกจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อควบคุมให้ระดับHbA1C ลดลงแล้ว คนเป็นเบาหวานยังต้องใส่ใจควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดพร้อมกับลดความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท จึงจะป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พาวเดอร์ล่า คืออะไร

พาวเดอร์ล่า คือ การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์พาวตัวเดิม ซึ่งยังคงนำโดยสารสกัดจากพลูคาวที่เป็นพระเอก เพิ่มเติมด้วยส่วนผสมจากสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยแนะนำว่าดีต่อภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมภูมิ พร้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและขับถ่าย และสารสกัด...

อ่านต่อ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการทาน พลูคาว

พลูคาว หรือผักคาวตอง พืชสมุนไพรพื้นถิ่น นอกจากประโยชน์สรรพคุณที่เราทราบกันแล้ว ยังมีข้อห้าม ข้อควรระวังในการรับประทานเช่นเดียวกัน หากรับประทานพลูคาว "มากจนเกินไป" อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน หรือห...

อ่านต่อ

ออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนดี

เช้า สาย บ่าย เย็น ช่วงไหนควรออกกำลังกายมากที่สุด ช่วงเวลาในการออกกำลังกายส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราหรือไม่?ออกกำลังกายตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืนจากรายงานการศึกษาล่าสุดพบว่า ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานหรือไม่...

อ่านต่อ

เบาหวาน ในช่วงโควิด 19

แนะวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในช่วงระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่เชื้อไวรัส โควิด-19 ยังไม่หมดไป ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่นโรคเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงก...

อ่านต่อ

น้ำตาลสูง จุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพ

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข  นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์คิว"พาวซูกา...

อ่านต่อ