แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ

<strong>แผลเบาหวาน</strong>ที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ #1

แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ? (Diabetic Foot)

ช่วงหน้าฝนอาจทำให้เกิดน้ำขัง น้ำท่วมในหลายพื้นที่ และการเดินลุยน้ำ หรือลุยโคลนในบริเวณน้ำท่วมขัง เสี่ยงต่อการเกิดน้ำกัดเท้าหรืออาจเกิดบาดแผลที่เท้าได้ โดยเฉพาะผู้เป็น แผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งหากเท้าเป็นถูกน้ำ อาจทำให้แผลหายช้า และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งส่งผลเกิดอาการดังนี้

ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียหาย เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่เท้าจะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกจึงมักเกิดบาดแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย

ระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อในเท้าเสียหาย ทำให้เท้าผิดรูป เมื่อเกิดจุดกดทับที่บริเวณฝ่าเท้าเนื่องจากมีการยืนและเดินลงน้ำหนักเกินในบางตำแหน่งมากเกินไป ทำให้เกิดหนังด้านแข็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลได้

ระบบประสาทออโตโนมิกเสียหาย ทำให้ผิวหนังแห้งเป็นแผลง่าย

หากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาและเท้ามีปัญหาจะทำให้ขบวนการรักษาแผลของร่างกายเป็นไปอย่างล่าช้า ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย อาจต้องถูกตัดเท้าหรือขา ซึ่งผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 25 เท่า โดยร้อยละ 70 ของที่ผู้เป็นเบาหวานที่มีประวัติเป็นแผลมาก่อน มีโอกาสเกิดแผลซ้ำใน 5 ปี

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผล

การเกิดแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานสัมพันธ์กับโรคปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวานและโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตันและยังมีปัจจัยอื่นๆได้แก่

•เพศชายมักเป็นมากกว่าเพศหญิง

•มีอายุมาก

•สูบบุหรี่

•ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

•มีประวัติการตัดนิ้วเท้าหรือขา

•เท้าผิดรูปมีหนังด้านแข็งที่ฝ่าเท้า

•มีประวัติแผลที่เท้ามาก่อนหรือมีการเกิดแผลงซ้ำในช่วงระยะเวลา 2-5 ปี

•จอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน

•มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวาน

<strong>แผลเบาหวาน</strong>ที่เท้า ดูแลอย่างไรให้หายเร็ว และไม่ติดเชื้อ #2

การดูแลรักษาเท้าอย่างถูกวิธี

1.สำรวจเท้าและความสะอาดเท้าทุกวัน หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

2.ทาโลชั่นทุกวันทันที ภายหลังจากการทำความสะอาด

3.การดูแลเล็บ การตัดเล็บเท้าควรทำด้วยความระมัดระวังและตัดอย่างถูกวิธี

4.ถ้ามีผิวหนังที่หนา หากพัฒนาจนแข็งเป็นก้อนควรได้รับการตัดให้บางทุกๆ 4 – 8 สัปดาห์ โดยผู้ชำนาญ

5.เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะที่ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

6.สวมถุงเท้าเพื่อคงความชุ่มชื่นและสามารถลดการเสียดสีได้

7.กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบพบแพทย์และรักษาโดยเร็ว

Lu7 แอลยูเซเว่น

หากคุณมีน้ำตาลในเลือดสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ให้ลองสังเกตว่าเริ่มมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้แล้วหรือไม่แอลยูเซเว่น คืออะไร??แอลยูเซเว่น  คือ ส่วนผสมของสมุนไพรที่มีงานวิจัย และเป็นสมุนไพรธรรมชาติ ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ใส่ใจขั้นตอนการปลูก และ การเก็บ...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

พาวเดอร์ล่า คืออะไร

พาวเดอร์ล่า คือ การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์พาวตัวเดิม ซึ่งยังคงนำโดยสารสกัดจากพลูคาวที่เป็นพระเอก เพิ่มเติมด้วยส่วนผสมจากสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยแนะนำว่าดีต่อภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมภูมิ พร้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและขับถ่าย และสารสกัด...

อ่านต่อ

คุมเบาหวานที่ดี คือคุมให้ดีตลอด

คุณหมอแนะนำวิธี การคุมเบาหวาน การทานอาหาร เพื่อคุมน้ำตาลเบาหวาน ควรทานอย่างไร ทานแบบไหน ที่จะคุมน้ำตาลให้ดีตลอดเป้าหมายของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน และทานยารักษาอาการอยู่คือ ต้องการลดปริมาณยาที่ทานลง และคุมน้ำตาลได้ดี...

อ่านต่อ

พลูคาว รับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย

แม้พลูคาวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายสำหรับคนทั่วไปหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจากการรับประทานอาหาร แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือการทดลองใดยืนยันชัดเจนได้ว่าพลูคาวมีประสิทธิผลทางการรักษาหรือป้องกันโรคต่าง ๆ ในมนุษย์...

อ่านต่อ

ทำให้น้ำตาลลดลง ใครว่าทำไม่ได้

การทำให้น้ำตาลลดไม่ใช่เรื่องที่ยาก หรือเป็นไปไม่ได้ !!แต่การทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติสุข ไม่ตื่นตอนดึก นอนหลับง่าย ไม่ตื่นมาฉี่บ่อย ไม่อ่อนเพลีย มีแรง ไม่ถูกเพิ่มยา ไม่ถูกฉีดอินซูลิน และการไม่มีโรคแทรกอื่น สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือจุดประสงค์ของ "พาวซูการ์ค...

อ่านต่อ

ประโยชน์ ของ ฟักทอง

ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้นฟัก...

อ่านต่อ