เข้าใจ โรคเบาหวาน

เข้าใจ <strong>โรคเบาหวาน</strong> #1

เรียนรู้ อยู่อย่างเข้าใจโรคเบาหวาน อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข ไม่ใช่ว่าจะต้องห้ามทานอาหารทุกๆ อย่าง แต่ต้องรู้ว่าควรกินได้ในปริมาณเท่าไหร่จึงไม่ก่ออันตราย

โรคเบาหวาน” ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีคนเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นถึงสองเท่าตัว บ้างก็ว่าเป็นเพราะการตรวจคัดกรองที่ดีขึ้น และส่วนหนึ่งมาจากที่คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น พออายุมากร่างกายก็เสื่อมถอย โอกาสเป็นเบาหวานจึงมากขึ้นตาม แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือ ปัจจุบันพบว่าคนเป็นโรคเบาหวานมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ 30 เศษๆ ก็เป็นกันแล้ว

ไม่ใช่ว่าจะต้องห้ามทานอาหารทุกๆ อย่าง แต่ต้องรู้ว่าควรกินได้ในปริมาณเท่าไหร่จึงไม่ก่ออันตราย

คนที่เป็นตั้งแต่อายุยังน้อยต้องอยู่กับเบาหวานไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว คิดดูว่าถ้าเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุ 30 ปี แล้วเราต้องอยู่ไปจนถึงอายุ 80 ปี เท่ากับเราต้องอยู่กับเบาหวานนานถึง 50 ปี นี่มันครึ่งชีวิตเลยทีเดียวนะ และยิ่งต้องอยู่กับเบาหวานนานมากเท่าไหร่ โรคแทรกซ้อนย่อมตามมามากขึ้นเท่านั้น โดยเฉลี่ยของคนที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี ขึ้นไป จะเริ่มมีโรคแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือด โรคไต และอื่นๆ ตามมาอีกเป็นแถว

เรียนรู้และเข้าใจในเบาหวาน

คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักได้รับมรดกมาจากพ่อแม่ ตามสถิติพบว่าคนที่เป็นเบาหวานมากกว่าครึ่งมีคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นด้วย เพราะฉะนั้นโรคเบาหวานส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นเบาหวานเรามีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่น 1 เท่า แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นเบาหวาน เรามีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าคนอื่นถึง 2 เท่า แต่จะเป็นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของเรา ว่ารู้จักกิน รู้จักออกกำลังกาย รู้จักปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตหรือไม่ ถ้าไม่เบาหวานก็มาหาเร็วหน่อย ที่สำคัญเบาหวานเป็นอะไรที่ค่อยเป็นค่อยไปกว่าจะมีอาการให้เห็น นั่นหมายความว่าคุณอาจเป็นมานานแล้ว เช่น หิวน้ำบ่อย คอแห้ง กินจุแต่ผอมลงๆ ซึ่งถ้าเราย้อนดูประวัติเขากลับไปซัก 5-10 ปี จะเห็นว่าน้ำตาลมันค่อยๆ ขึ้นมานานแล้ว แต่ไม่ได้สนใจ ปล่อยให้ระดับน้ำตาลมันค่อยๆ ไต่ จนกระทั่งสูงถึงขั้นฟันธงว่าเป็นเบาหวานแน่ๆ ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปคุมน้ำตาลตั้งแต่วันนั้น เราก็อาจไม่เป็นเบาหวานเลยในวันนี้

เรียนรู้และเข้าใจโรคเบาหวานกันเถอะครับ

เข้าใจ <strong>โรคเบาหวาน</strong> #2

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

แต่ละวัย รับน้ำตาล ได้เท่าไหร่

แต่ละเพศ และวัย มีความสามารถในการรับน้ำตาลไม่เท่ากัน เคยสังเกตุตัวเองมั้ยว่าทานไปเท่าไหร่? ลดการบริโภคน้ำตาล เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน ตัดวงจรการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันของแต่ละช่วงอา...

อ่านต่อ

ออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนดี

เช้า สาย บ่าย เย็น ช่วงไหนควรออกกำลังกายมากที่สุด ช่วงเวลาในการออกกำลังกายส่งผลต่อประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราหรือไม่?ออกกำลังกายตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืนจากรายงานการศึกษาล่าสุดพบว่า ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย ส่งผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานหรือไม่...

อ่านต่อ

พาวเดอร์ล่า คืออะไร

พาวเดอร์ล่า คือ การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์พาวตัวเดิม ซึ่งยังคงนำโดยสารสกัดจากพลูคาวที่เป็นพระเอก เพิ่มเติมด้วยส่วนผสมจากสมุนไพรที่กรมการแพทย์แผนไทยแนะนำว่าดีต่อภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมภูมิ พร้อมด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและขับถ่าย และสารสกัด...

อ่านต่อ

กระชายขาว วิธีรักษาโรค แผนโบราณ

กระชายขาวกับ วิธีรักษาโรคแบบแผนโบราณ มีเทคนิคโบราณกับการรับประทานกระชายเหลืองหรือกระชายขาวแบบสด กระชายแก่มี pinostrobin เป็นสองเท่าของกระชายอ่อน ถามคนขายเลือกเอารากที่แก่ กระชายจากชุมพรและนครปฐมมีสาร pinostrobin มากประมาณร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักแห้ง ราก...

อ่านต่อ

บลูสเปียร่า สารสกัดจากสาหร่ายสไปรูลิน่า

สารสกัด Blue Spira (บลูสเปียร่า) ส่วนผสมหลักใน พาวซูการ์คิว ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ไฟโคไซยานินสูงกว่าปกติ ไม่มีผลกับไต คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า สายพันธ์ Platensis ด้วยกรรมวิธีพิ...

อ่านต่อ