พฤติกรรมเนือยนิ่ง

[[pic1]]
พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) คำศัพท์ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ชีวิตที่สะดวกและรวดเร็วจนขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ปรากฏและเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัยในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง เป็นบ่อเกิดของกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนกว่าคนในแต่ละปี นั่นคือ ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs)

สืบเนื่องจาก การกักตัวเพื่อป้องกันตัวจากเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นผลให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกช่วงวัยเปลี่ยนไปในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนในรูปแบบออนไลน์ การทำงานในห้อง การพบปะสังสรรค์ ฯลฯ โดยสถิติระบุว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพราะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัดเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสาเหตุนี้ก็ยิ่งทำให้สุขภาวะของคนไทยเริ่มถดถอย

พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคตด้วย การให้ความสำคัญกับการเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เร่งด่วน และประชาชนควรรับทราบถึงผลกระทบ สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงจุด

หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

พฤติกรรมเนือยนิ่ง เกิดมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมและขาดกิจกรรมทางกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งดูทีวี การท่องโลกโซเชียล การเรียนออนไลน์ การสั่งอาหารดิลิเวอรี การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปหรือน้ำตาลสูง เป็นต้น

วิธีแก้เริ่มต้นง่ายๆ เพียงหากิจกรรมที่ต้องขยับร่างกาย ลุกขึ้นยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่าบ้างเวลาที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือพยายามสร้าง Active Lifestyle ให้กับตัวเอง หันมา ปรับการกินให้ถูก ขยับอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพแข็งแรงที่ดีของคนในครอบครัว

การที่ร่างกายขาดการขยับเขยื้อน ระบบเมตาบอลิกในร่างกายจะทำงานแย่ลง รวมทั้งอันตราการเผาผลาญพลังงานเช่นกัน โดยพฤติกรรมเนือยนิ่งนี้เอง ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) อันได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดถึง 3 แสนคนต่อปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากต้องการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากพฤติกรรมเนือยนิ่ง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือทานผักอย่างน้อย 4 ขีดต่อวัน รวมทั้งมี ‘กิจกรรมทางกาย’ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และพักหน้าจอทุก ๆ 50 นาที ก็จะสามารถตัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พาวน้ำ ขวดใหญ่ POW พาวเอสเซ้นส์ พาวน้ำพลูคาว

พาวซุยยากุเอสเซนส์ น้ำสมุนไพรพลูคาวสกัดเข้มข้น พาวซุยยากุเอสเซนส์ หรือพาวน้ำ  ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรสกัด 11 ชนิด ประกอบด้วยพลูคาวเป็นส่วนประกอบหลัก และสมุนไพรอื่น 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะรุม มะขามป้อม กระชายดำ ตังกุย เห็ดหลินจือ เก๋ากี๊ สมอไทย โสม ลูกยอ เจี...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

เบาหวาน มีตัวช่วย

โรคเบาหวาน ถึงจะมีตัวช่วยสมุนไพร อาหารเสริมอื่นๆ แต่ก็อย่าชะล่าใจไปนะครับ ยังไงก็ต้องรู้ว่าอะไรห้ามทาน อะไรทานแบบจำกัด อะไรที่ทานได้สบาย แล้วชีวิตจะมีความสุข สนุกกับการทานอาหารมากขึ้น พาวซูการ์คิว มีส่วนผสมของสมุนไพรคุมน้ำตาลหลายตัวที่มีงานวิจัยม...

อ่านต่อ

ออกกำลังกาย เบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบว่าผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่ได้รับการควบคุมอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยเสริมในการบำบัดโรคเบาหวานได้ ซึ่งก็จะให้ผลดี คือ ลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดั...

อ่านต่อ

การเดินเร็ว ลดความดันได้

การเดินเร็วๆ หรือ Brisk Walk ช่วยลดความดันได้ดีพอๆ กับการวิ่ง การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดัน หลายคนสงสัยว่าการเดินเร็วจะสามารถลดความดันได้เท่ากับการวิ่งจริงหรือ?การเดินเร็ว 10-12 นาทีต่อกิโลเมตร หรือนับง่ายๆ คือ 100 ก้าวต่อนาที หรื...

อ่านต่อ

ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต...

อ่านต่อ

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน...

อ่านต่อ