รู้ทันโรคเบาหวาน

รู้ทันโรค<strong>เบาหวาน</strong> #1

เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก อัตราตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียวแต่อันที่จริงแล้ว

สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน

เราสามารถจำแนกโรคเบาหวานตามสาเหตุการเกิดได้ 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่1, เบาหวานชนิดที่2, เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่คนส่วนใหญ่มักสับสนคือ เบาหวานชนิดที่1 และ เบาหวานชนิดที่2 เราจึงควรเข้าใจความแตกต่าง ระหว่างเบาหวานชนิดที่1 และเบาหวานชนิดที่2 ให้ถูกต้องมากขึ้น เพื่อจะได้รับมือและรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

โรคเบาหวานชนิดที่1

จัดเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune disease)ซึ่งหมายถึง ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเบต้าเซลล์ (Beta cell) ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน จนร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose Level) ได้ตามปกติ อีกทั้งทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดที่เกิดจากกรดคีโตนคั่ง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่เกิดภาวะกรดคีโตนคั่ง

โรคเบาหวานชนิดที่2

เกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ ที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance ) จึงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนเป็นโรคเบาหวาน

ความแตกต่างโดยทั่วไปของเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes Mellitus Type 1)

  • มักพบในเด็กและวัยรุ่น โดยพบมากในช่วงอายุ 4-7ปี และ 10-14ปี
  • ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก หรือรูปแบบการใช้ชีวิต
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการวินิจฉัยจากที่มีภาวะเลือดเป็นกรด จากกรดคีโตนคั่ง
  • รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน หรืออินซูลินปั๊ม
  • หากไม่ใช้อินซูลิน จะควบคุมอาการของโรคไม่ได้
  • เบาหวานชนิดที่ 1 ยังไม่มีวิธีป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes Mellitus Type 2)

  • มักพบในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะเสี่ยงเบาหวาน (Prediabetes) คือ น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเล็กน้อย กลุ่มนี้ จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • หากมีคนในครอบครัว เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือมีภาวะอ้วนลงพุง จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักตรวจพบว่ามีระดับความดันโลหิตสูง
  • มักไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • ส่วนใหญ่ หากยังอยู่ในระยะเริ่มแรก และระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา
  • สามารถป้องกัน ชะลอ หรือควบคุมอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารมีประโยชน์

การป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่1 ไม่สามารถป้องกันได้ ต้องรักษาด้วยการใช้ยาฉีดอินซูลินเข้าร่างกายเป็นประจำ โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกายปริมาณเท่าใด

ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่2 สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ด้วยการใช้ชีวิตประจำวันแบบดีต่อสุขภาพ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี อย่าปล่อยให้อ้วน ลงพุง สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว ร่วมกับการกินยาตามแพทย์สั่ง หากคุณดูแลร่างกายดีๆ อาจไม่จำเป็นต้องกินยารักษาเบาหวานไปตลอด

รู้ทันโรค<strong>เบาหวาน</strong> #2


ที่มาของบทความ:diabetescareth (เขียนบทเรียง โดย ทีม Hello Khunmorทบทวนบทความ โดย แพทย์หญิงรุ่งนภา ลออธนกุล)

ชาสมุนไพรเลือดมังกร ฟรีค่าส่ง

ดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ ดีกว่าเสียเงินไปหาหมอชาเลือดมังกร หรือ สมุนไพรเลือดมังกร ตราบ้านชาไทย ปลูกบนยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ณ บ้านห้วยน้ำกืน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ทำให้ได้ สมุนไพรเลือดมังกร ที่มีคุณภาพสูง ปลูกแบบออแกนนิค 10...

ดูรายละเอียด

เบาหวาน

บทความน่ารู้

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานไม่ได้มีเพียง ตา ไต และปลายเท้าเท่านั้น เรื่องหลอดเลือดหัวใจก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เป็นที่เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมักจะเกิดใน ผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเรากลับพบโรคนี...

อ่านต่อ

ข้าวกล้อง ข้าวขาว

หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่แคลลอรี่น้อย ๆ บางคนถึงขั้นบอกว่าเลิกกินข้าวเลยดีกว่าเพราะข้าวเป็นแป้ง น่าจะทำให้อ้วนได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงแหล่งคาร์โบไฮเดรตทางเลือกอย่างเช่น ข้าวกล้อง ว่ามีความแตกต...

อ่านต่อ

การเดินทางของ พาว ซุยยากุเอสเซนส์ สุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเราเอง

อยากให้ดู อยากให้รู้ว่า สุขภาพดีสร้างได้ พาวน้ำ ขนาด 750ml. รับประทานได้ประมาณ 30 วัน ทำไมถึงต้องพิถีพิถัน ถึงใช้เวลา เพราะเรื่องสุขภาพคือชีวิต คือความสุข คือพลังใจ คือพลังกาย ให้เราพร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเองในทุกๆวันเพราะนี่คือ ชีวิตคนจริงๆ ปัญหาส...

อ่านต่อ

ผักเชียงดา ผู้ฆ่าน้ำตาล

ผักเชียงดามีคุณประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณที่เด่นชัดก็คือ การถูกเรียกว่าเป็นผู้ฆ่าน้ำตาล ทั้งนี้รากศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ของผักเชียงดา คือ จิมนีมา (GYMNEMA) มาจากคำที่มีรากศัพท์ของภาษาฮินดูในประเทศอินเดียว่า เกอร์มาร์ (GURMAR) ซึ่งแปลตรงตัวว่าผู้ฆ่าน...

อ่านต่อ

ไตเรื้อรังจากเบาหวาน

ไตเรื้อรังจากเบาหวาน อันตรายที่อาจเกิดขึ้น และวิธีดูแลที่แตกต่างจาก โรคไต และ เบาหวาน อื่นๆ เบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดภาวะไตเรื้อรัง เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดเซลล์บริเวณไต ในระ...

อ่านต่อ