คุมอาหาร แต่ไม่ออกกำลังกาย

หาก<strong>คุมอาหาร</strong> แต่<strong>ไม่ออกกำลังกาย</strong> #1

มันเป็นอย่างไร จะได้ผลมากน้อยเพียงใด หากเราเป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย ข้อดีของการออกกำลังกาย ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อผู้ออกกำลังกาย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ระบบภูมิคุ้มกัน ความแข็งรองของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ระบบประสาทต่างๆ เรียกได้ว่า ออกกำลังกายครบเครื่องศาสตร์ของการดูแลตัวเองอย่างแท้จริง แต่การออกกำลังกาย ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อีก 1 ปัจจัย ที่ไม่แพ้กันก็คือ เรื่องของ อาหาร

อาหารมีบทบาทโดยตรงต่อสุขภาพทั้งภายในและภายนอก ภายในคือ มีสุขภาพที่ดี ตรวจเลือดผลออกมาดี ไม่มีอะไรผิดปกติ หรือ มีน้อย ในคนที่คุมอาหารบ้าง ไม่ใช่กินไม่เลือก แบบนั้นไม่ดีแน่นอน โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดอุดตัน ถามหาแน่นอน ภายนอกคือ การเลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ จะช่วยทำให้ร่างกายได้สารอาหารที่ดี และเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่เป็นภาระต่อร่างกาย ห่างไกลโรคอ้วน และโรคต่างๆ ที่อาจตามมา

การคุมอาหารเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ถ้าปราศจากการออกกำลังกาย ร่างกายก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอาหาร ย่อมมีผลเสียบางอย่างแน่นอน

ถ้าเราไม่เลือกออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเหตุผลใดๆก็ตาม แต่เราเลือกคุมอาหารบ้าง จะเป็นอย่างไร ร่างกายจะได้สารอาหารที่ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะผอม หรือ ลดไขมัน ลดน้ำหนัก ได้ดั่งต้องการ การคุมอาหารเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ถ้าปราศจากการออกกำลังกาย ร่างกายย่อมไม่เสียพลังงานใดๆเลย นอกจากพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวันปกติ เมื่อเราไม่ออกกำลังกาย ร่างกายก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากอาหารมากเท่าคนที่ออกเป็นปกติ สารอาหารสามารถนำไปใช้สร้างกล้ามเนื้อ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบต่างๆ และฮอร์โมนทำงานปกติ แต่ถึงกระนั้น คนที่ไม่ออกย่อมมีผลเสียบางอย่างแน่นอน

กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ถูกออกกำลัง หรือใช้กำลังใดๆเลย จะไม่มีการเคลื่อนไหว จะไม่มีการใช้พลังงาน หรือใช้น้อย ทำให้กล้ามเนื้อไม่เฟิร์ม ขยายขนาดไม่ได้ ระบบข้อต่อ เส้นเอ็น และกระดูก ก็ยังคงเหมือนเดิม ไม่แข็งแรงขึ้น ไม่เกิดความยืดหยุ่น ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายเหมือนเดิม เรียกง่ายๆ ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายเหมือนเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพียงแต่อาจได้ในเรื่อง ของสุขภาพเข้ามาแทนเท่านั้น หวังจะคุมอาหารเพียงอย่างเดียว รูปร่างคงไม่เปลี่ยนนะ

หาก<strong>คุมอาหาร</strong> แต่<strong>ไม่ออกกำลังกาย</strong> #2

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิต คอเรสเตอรอล

หัวใจและหลอดเลือด ทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลาเพื่อนำเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย    ความผิดปกติในร่างกายที่มีผลกับระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ที่จะทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแดและแตกได้    โรคไขมันอุดตันเส้นเลือ...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้ออกกำลังกาย

เมื่ออกกำลังกายก็มักจะเหนื่อยและเผลอทำให้ทานอาหารมากขึ้นหลังจากออกกำลังกายแล้ว แต่ในความเป็นจริง เราไม่ได้ต้องการอาหารมากขึ้นเลย เราแค่ต้องรู้จักบริหาร โภชนาการ และ ช่วงเวลาในการรับประทานให้เหมาะสมแนวทางในการเลือกกินอาหารสำหรับออกกลังกาย ควรกินอาหารท...

อ่านต่อ

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

ควบคุมน้ำหนัก

การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะโรคอ้วน เป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ โรคร้ายที่อาจจะมาพร้อมกับความอ้วนได้แก่ โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง มะเร็งเต้านม โรคหล...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ