ไขมันตัวร้าย นำพามาสารพันโรค

ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคหลอดเลือดสมอง นำพาไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ชนิดของไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์   ซึ่งคอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL

    1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)  เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ และได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ อาหารทะเล อาหารหวาน ขนมกรุบกรอบ และครีมเทียม  คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง แต่ถ้าหากได้รับมากเกินไปก็จะเป็นโทษ ไขมันเหล่านี้จะสมสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และหลอดเลือดอุดตัน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.

  • ไขมันชนิดดี HDL (High Density Lipoprotein) ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ  การมีไขมัน HDL สูงทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดลดลง การทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น ระดับไขมัน HDL ในเลือดปกติสำหรับผู้ชายมากกว่า 40 มก./ดล. สำหรับผู้หญิงมากกว่า 50 มก./ดล.
  • ไขมันชนิดไม่ดี LDL (Low Density Lopoprotein) ได้มาจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ หากมีในเลือดสูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดไม่มีความยืดหยุ่น หลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน  ระดับไขมันLDLในเลือดปกติไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.

    2. ไตกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้สารอาหารประเภทน้ำตาล แป้ง และอาหารที่ทานเข้าไป มีความสำคัญด้านโภชนาได้แก่ ให้พลังงาน ช่วยการดูดซึมวิตามิน A,D,E และK ช่่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน และร่างกายยังเก็บสะสมไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ   การที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจจะมาจากโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน  จากการดื่มสุรา และยาบางชนิด เช่นยาฮอร์โมน ยาสเตียรอยด์  การที่ไตรกลีเซอไรด์สูงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มาก   ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มก./ดล

ที่มาข้อมูล บทความสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ,บทความ ศูนย์แลบธนบุรี , บทความสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล

POW Zukar Q พาวซูการ์คิว

กลุ่มโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มแอลกฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก มีภาวะความเครียดสูง  ตัวอย่างของโรค NCDs ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคห...

ดูรายละเอียด

ทางเดินอาหาร

บทความน่ารู้

ประโยชน์ของกล้วยหอม

กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่ปลูกได้ตลอดปีในกล้วยหอมประกอบไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิดคือ ซูโครส ฟรุกโตน และกูลโคส ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้ร่างกายพร้อมนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที อีกทั้งมีเส้นใยอาหาร รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆหลายชนิด  มีประโยชน์ต่อกล้ามเนื...

อ่านต่อ

ลำใส้ดี สุขภาพดี

เชื่อหรือไม่ว่าสุขภาพเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับลำไส้เป็นส่วนสำคัญ? ยิ่งลำไส้ของเรามีสุขภาพดีมากเท่าไหร่ ร่างกายเราก็ยิ่งมีสุขภาพดีตามไปด้วย เพราะลำไส้เป็นอวัยวะที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หากร่างกายได้รับสารอาหารที่มีส...

อ่านต่อ

ซินไบโอติก Synbiotics คืออะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายไหม

ซินไบโอติก (Synbiotics) คือการนำโพรไบโอติกและพรีไบโอติก  มาผสานเข้าด้วยกันซึ่งโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีมีประโยชน์ต่อลำไส้ ส่วนพรีไบโอติก คืออาหารของโพรไบโอติกเป็นเส้นใยอาหารที่ร่างกายสามารถย่อยหรือดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร  เมื่อนำทั้ง2ชนิดมา...

อ่านต่อ

พรีไบโอติก และ โพรไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร

เคยได้ยินคำว่าพรีไบโอติก (Prebiotics) และโพรไบโอติก (Probiotics) กันบ้างหรือไม่ ทั้งสองอย่างนี้ทำหน้าที่สำคัญต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตชนิดดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เปรียบเสมือนทหารดีพรีไบโอติก  คือ สารอาหารที่มีป...

อ่านต่อ

โรคเชื้อราในลำไส้ คืออะไร

เชื้อราในลำไส้ ก็เช่นเดียวกับเชื้อราในผิวหนัง หรือเชื้อราที่ศรีษะ เพียงแค่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในโดยเฉพาะผิวลำไส้  ซึ่งในลำไส้จะประกอบไปด้วยเชื้อรา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่ดี ซึ่งจะมีอยู่พึ่งพากันและสมดุลไม่มีตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป  เชื้อรา...

อ่านต่อ