ไขปมผู้ป่วย เบาหวาน ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง

ไขปมผู้ป่วย <strong>เบาหวาน</strong> ติดเชื้อ<strong>โควิด</strong> ทำไมเสี่ยงตายสูง #1

ไขปมผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดเชื้อโควิด ทำไมเสี่ยงตายสูง?ซึ่งหากติดเชื้อโควิด19ส่งผลกระทบต่อการควบคุมเบาหวานได้แย่ลง เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเบาหวานคุมไม่ได้ น้ำตาลก็สูงขึ้น น้ำตาลที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานแย่ลง ทำให้ ไวรัสโควิด19 เข้าไปทำลาย Tcells (ทีเซลล์)ของเม็ดเลือดขาวได้ง่ายขึ้น ซึ่ง Tcells ทำหน้าที่แจ้งเตือน และ ชี้นำให้เซลตัวอื่นๆของเม็ดเลือดขาวรับทราบว่ามีเชื้อแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย และ ไปทำลายเชื้อโรค แต่หาก T cells ถูกทำลายร่างกายก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ต่อสู้กับเชื้อโรค จนส่งผลกระทบต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวม

งานวิจัยชิ้นนี้ อาจตอบปัญหาได้ว่า ทำไมเชื้อไวรัสโควิดจึงแพร่กระจายได้รวดเร็ว และ ผู้ที่ป่วยและหายดีแล้วจึงกลับไปติดเชื้อซ้ำ ซึ่งเป็นเพราะ T cells ถูกทำลายไปนั่นเอง ส่วนการป้องกันก็ทำได้ยากกว่าการป้องกันเชื้อ HIV เนื่องจากไวรัสโควิด 19 เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทุกคนเสริมสร้าง หรือ NK Cell  (Natural Killer Cell) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในร่างกาย ตรวจพบประมาณ 15% ของจำนวนเม็ดเลือดขาว มีหน้าที่หลักๆมีไว้จัดการกับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และ เซลล์มะเร็ง เสมือนด่านแรกในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวทั่วไป 

ดังนั้นจึงควรเสริมภูมิต้านทานให้แก่ NK Cell  คือ

  • การรับประทานอาหารครบหมู่ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีผลต่อ NK Cell ได้แก่ อาหารที่มีเบต้าแคโรตีน วิตามินซี วิตามินอี อาหารจำพวกเห็ด รวมทั้งรับประทานอาหารเสริมที่มีผลต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกัน ได้แก่ พูลคาว, บลูเบอร์รี, เห็ดไมตาเกะ, เห็ดหลินจือ, กระเทียม ,ถั่งเช่า, สารสกัดจากรำข้าว และ ธัญพืชหลายชนิด
  • ปล่อยวางความเครียดและคอยหมั่นสังเกตร่างกายตัวเอง
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน ด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด

Credit : TNN

หมวดเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทยเนื่องจาก บุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้นการคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภ...

อ่านต่อ

สุขภาพหญิง

ผู้หญิงมีความแตกต่างจากเพศชายอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของ ร่างกาย ฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากเพศชาย และในแต่ละช่วงอายุของผู้หญิงก็จะมีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันไป โรคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะ...

อ่านต่อ

ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง  โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น และสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ที่สังเกตุได้ชัดคือ เด็ก...

อ่านต่อ

สุขภาพชาย

สุขภาพผู้ชาย แต่เมื่อเริ่มเข้าเลข 3 พบว่าผู้ชายที่อายุเข้า 30 ปีขึ้นไป จะพบว่าตนเองนั้นมีพละกำลัง เรี่ยวแรงน้อยลง ไม่เหมือนก่อนสุขภาพโดยรวมเริ่มย่ำแย่ เพราะฉะนั้นการหมั่นดูแล สุขภาพผู้ชาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียกได้ว่า ใครเริ่มดูแลสุขภาพก่อนยิ่งได้เป...

อ่านต่อ

เบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ฟัน เหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และ หลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  อาการของเบื้องต้นที่สามารถสังเ...

อ่านต่อ

ต่อต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชั่น(กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน) หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ลดความเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โร...

อ่านต่อ