พืชผักสมุนไพรป้องกันโรค COVID 19

พืชผักสมุนไพรที่มีศักยภาพใช้เป็นอาหารป้องกันโรค COVID-19 จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ (pandemic) ของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ใน หลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้  การดูแลสุขภาพและการเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ เช่น พืชผักสมุนไพรและผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือที่อุดมไปด้วยวิตามินซีหรือสาร ต้านอนุมูลอิสระ หรือมีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการลดการติดเชื้อไวรัสได้ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่ แข็งแรงขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจจากโรค COVID-19 หรือหากติดเชื้อก็อาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะมี อาการรุนแรงได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาของระบบบริการ สาธารณสุขของประเทศโดยลดจำนวนผู้ป่วยหนักไม่ให้เกินจำนวนที่โรงพยาบาลจะรับได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบใน บางประเทศในยุโรปขณะนี้  พืชผักผลไม้และสมุนไพรที่แนะนำให้บริโภคในช่วงนี้ ได้แก่ 

อาหาร/สมุนไพรไทย ที่มีสารสำคัญ ช่วยลดโอกาส ติดเชื้อไวรัส COVID-19

พลูคาว (ผักคาวตอง) มีสารสำคัญ คือ quercetin, quercitrin, rutin และ cinanserin ที่ มีผลการศึกษา ว่ามีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ SAR และเชื้อโคโรน่าที่ก่อโรค COVID-19 ได้ โดยการจับกับ M protein ของเชื้อ สารสกัดด้วยน้ำของผักคาวตองแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชิ้อโรค อย่างมี นัยสำคัญ และ สารสกัดพลูคาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ mouse hepatitis virus (ซึ่งเป็น coronavirus ชนิดหนึ่ง) และ Dengue virus ในหลองทดลองได้ นอกจากนี้ ผักคาวตองยังมีฤทธิ์ต้านอักเสบ

ผลไม้ตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า) มีการศึกษาพบว่าสารมีสารสำคัญในผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือกผล ของพืชตระกูลส้ม  มีศักยภาพสูงในการลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 (จากการยับยั้งไม่ให้ ไวรัสเข้าเซลล์ และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส) และในช่วงที่มีโรค COVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่า มีการใช้ชาเปลือกส้มช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่นด้วย นอกจากนี้ ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซีสูง จึงเหมาะสำหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันโรคระบาดจากเชื้อไวรัสได้

หอมแดง (Allium ascalonicum L.) หอมใหญ่และหอมแดงเป็นสมุนไพรในครัวที่มีการใช้ ตามภูมิปัญญาไทยในการบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกมาเนิ่นนาน ปัจจุบันมีการศึกษา พบว่าในหัวหอมหรือหอมแดงมีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 และ ต้านการอักเสบที่ดีเช่นกัน

มะรุม (Moringa oleifera Lam.) นอกจากจะพบว่าเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงแล้ว สารสำคัญชนิด Quercetin และ kaempferol ที่พบมากในมะรุม สามารถฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้ดี

หม่อน (Morus alba L.) สาร rutin จากใบหม่อนสามารถแย่งจับกับไวรัสที่ตัวรับในปอด ซึ่งมีผลยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ดี และในช่วงที่มีโรค COVID-19 ระบาดที่ประเทศจีน มีรายงานว่ามีการใช้ชาใบหม่อนช่วยรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ ลูก หม่อนเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอล และสารในกลุ่มแอนโทไซยานินที่เป็นแหล่ง ของสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ

ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นสมุนไพรในครัวที่มีการศึกษาพบว่า สารสำคัญชนิด curcumin ที่พบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรค ทั้งโรค SARS, influenza, novel influenza H1N1 (WT), และ COVID-19 ในหลอดทดลอง และพบฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย

กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) มีสาร orientin ที่พบว่ามีฤทธิ์ลดโอกาสการติดเชื้อ ก่อโรค COVID-19 นอกจากนี้ กะเพรายังมีน้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ที่ประกอบด้วย methyl eugenol (37.7%), caryophylllene, methyl chavicol และ อื่นๆ ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดปวด และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพ ได้หลายชนิด

ธัญพืช ธัญพืชหลายชนิดมีสาร lignan มีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อ COVID-19

ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์สูง

ผักที่มีวิตามินซีสูง  มีรายงานการศึกษาการศึกษาที่พบว่าผัก 10 ชนิดที่มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัสได้ มีรายละเอียดดังภาพต่อไปนี้

ผลไม้ที่มีวิตามินซีและสารในกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง

มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีรสชาติถึง 5 รส ด้วยกัน คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม และ ฝาด มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและ สารในกลุ่มโพลีฟีนอลในปริมาณที่สูง ทำให้สามารถดูดซึมและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า นอกจากนี้ รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัด เสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดี ดังนั้น มะขามป้อมจึงเป็นผลไม้/สมุนไพรที่เหมาะ สำหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคในช่วงที่มีโรคระบาดนี้

ผลไม้มีสีต่าง ๆ ผลไม้ที่มีผลสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง มักจะประกอบด้วย สารสำคัญแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการ อักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเป็นสารที่ช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้น ภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

ผักที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ 

มีพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดที่แม้จะไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ COVID-19 แต่พบว่า มีรายงานว่ามีเกี่ยวกับการยับยั้งการติดเชื้อไวรัสก่อโรค ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบได้ดี ได้แก่

พลูคาว (ผักคาวตอง) เป็นผักที่มีรายงานการศึกษาวิจัยที่พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอักเสบ และลด mast cell-mediated anaphylactic responses

เห็ดต่าง ๆ เห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดหอม เห็ดออริจิ เห็ดนางฟ้า เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.) มีรายงานว่ามีสารกลุ่มเบต้ากลูแคนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคได้

ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ สมอไทย สมอพิเภก และ มะขามป้อม ตามคัมภีร์ทางแพทย์แผนไทย ตรีผลามีสรรพคุณช่วยปรับธาตุ ปรับสมดุลของร่างกาย ควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย มีข้อมูลการศึกษา ที่พบว่าตรีผลามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรงและมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil และมีกลไก ต้านการหลั่งสารก่อให้เกิดการอักเสบหลายชนิด

ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ประกอบสารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols (6-Gingerol), shogaols และน้ำมันหอมระเหย ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการไอ และยับยั้งเชื้อไวรัส ก่อโรคในทางเดินหายใจได้

ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd.)   เหง้าข่ามีรายงานว่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่ ประกอบด้วยสารสำคัญ ได้แก่ 1,8 cineole (53.57%), α-pinene (2.67%), trans-caryophyllene (2.61%), terpinen-4-ol (2.41%), chavicol (1.00%) และมีรายงาน พบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้แพ้ ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ระงับการปวด

กระเทียม (Allium sativum L.) ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.1-0.4% มี องค์ประกอบหลักคือ allicin  ajoene  alliin  allyldisulfide diallyldisulfide ซึ่งเป็นสารประกอบในกลุ่ม organosulfur ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพืชผักต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แม้บางชนิดจะยังไม่มีรายงานการศึกษา เกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื้ออุบัติใหม่ที่ก่อโรค COVID-19 แต่ต่างเป็นพืชผักพื้นถิ่นที่หาได้ง่าย และมีฤทธิ์กระตุ้น ภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งควรส่งเสริมให้มีการบริโภคเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ ไวรัสด้วย นอกจากนี้ การป้องกันตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การป้องกันตนเองโดย การ

ล้างมือ กินร้อน ช้อนของตัวเอง และใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องไปในชุมชน

สินค้าอื่นๆ

บทความน่ารู้

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง?แม้ว่าโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคพุ่มพวง เอสแอลอี หรือลูปัส จะไม่ได้พบกันบ่อยๆ แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิด...

อ่านต่อ

สุขภาพ สำคัญแค่ไหน

ใครที่เป็นเสาหลักของบ้าน ยังมีหลายอย่างรออยู่ อย่าละเลย สุขภาพ จนต้องรู้สึกเสียดาย เพราะหากล้มลงเมื่อไรก็เหมือนบ้านทั้งหลังพังทลายลงพร้อมกัน เพราะชีวิตคุณไม่ได้มีเพียงบทบาทเดียว หลายหน้าที่มาพร้อมกับหลายความรับผิดชอบ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างก...

อ่านต่อ

ฉีดเมื่อไหร่ก็หอม โล่ง สดชื่น

พาวเม้าท์สเปรย์ สเปรย์สำหรับฉีดในช่องปาก ยับยั้งและลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 99% *อ้างอิง โครงการการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สเปรย์ระงับกลิ่นปากผสมสารสกัดสมุนไพร ได้รับการสนับสนุนจัดหาผู้เชียวชาญโดย  ITAP สวทช* (เลขที่อนุมัติ 20...

อ่านต่อ

3 ข้อต้องรู้และทำความเข้าใจ ก่อนทานยาสมุนไพร

ทำความเข้าใจก่อนเริ่มทานสมุนไพรสมุนไพรสามารถ ออกฤทธิ์แบบยาเคมีได้ (ออกฤทธิ์อย่างอ่อนๆ) และสามารถไปฟื้นฟูร่างกายได้ นั่นคือข้อแตกต่างและเป็นความวิเศษจากธรรมชาติ แต่ยาเคมี ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์เพื่อระงับอาการขณะนั้นๆเช่น เมื่อเป็นไข้ก็กินยาพารา น้ำตาลสูงก...

อ่านต่อ

กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเป็นปราการด่านแรกในการเจรจา พบปะผู้คนแม้จะดูแลฟันและช่องปากดีขนาดไหน...แต่ก็เกิดกลิ่นปากได้แบบไม่รู้ตัว วันนี้มีเกร็ดความรู้สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก และการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก มากฝากทุกคนค่ะ...

อ่านต่อ