ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน

ยา<strong>เบาหวาน</strong> ชนิดรับประทาน #1

ยาลดระดับน้ำตาล หรือ ยาเบาหวานชนิดรับประทาน ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ยาชนิดรับประทานมีหลายชนิด ซึ่งออกฤทธิ์แตกต่างกันไป

ยาที่แพทย์มักให้กับผู้ป่วยเบาหวานเป็นชนิดแรกคือ ยาเมทฟอร์มิน ซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดใหญ่ออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ยาเมทฟอร์มินรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นผลข้างเคียงของยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง เบื่ออาหาร การรับประทานพร้อมอาหารจะลดอาการข้างเคียงของยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดี ดังนั้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก หายใจเร็วหลังรับประทานยานี้ ต้องรีบมาพบแพทย์

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทานใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในเบาหวานชนิดที่ 1

เมื่อใช้ยาเมทฟอร์มินเป็นยาตัวแรกแล้ว หากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ หรือหากระดับน้ำตาลสูงมากตั้งแต่ต้น แพทย์จะพิจารณาให้ยาเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ยาที่ผู้ป่วยมักจะได้รับต่อจากเมทฟอร์มินคือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียซึ่งมักมีลักษณะเป็นยาเม็ดเล็ก ยาในกลุ่มนี้รับประทานวันละ 1-2 ครั้งโดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือน้ำตาลในเลือดต่ำ ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับยากลุ่มนี้ จึงควรรับประทานอาหารหลังจากทานยาไม่เกิน 30 นาที กินอาหาร ออกกำลังกายให้ตรงเวลา และพกน้ำตาลก้อนหรือน้ำหวานติดตัวไว้เสมอ เพื่อใช้เวลาที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งอาจมีอาการใจสั่น หิวข้าว หลงลืม จนถึงไม่รู้สึกตัวได้

หากมีอาการน้ำตาลต่ำเกิดขึ้นบ่อยหรือยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เมื่อได้รับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียและเมทฟอร์มิน แพทย์อาจเปลี่ยนยาหรือเพิ่มยาเบาหวานที่ออกฤทธิ์แบบอื่นครับ

Credit : พลอากาศโท นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

POW พาวโปรตีน พาวเดลี่ POW Daily

พาวเดลี่ POW Daily โปรตีนจากพืช Multi Plant Protein 5 ชนิด พาวโปรตีน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุง เสริมพลังงานให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกาย ใน 1 วัน  เด็กที่ไม่ทานผัก หรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ทานอาหารยาก ทานได้น้อย เบื่ออาหาร  หรือผู้ที่ออกกำลัง...

ดูรายละเอียด

อาหารเสริมผู้สูงอายุ

บทความน่ารู้

การเดินเร็ว ลดความดันได้

การเดินเร็วๆ หรือ Brisk Walk ช่วยลดความดันได้ดีพอๆ กับการวิ่ง การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญของการควบคุมความดัน หลายคนสงสัยว่าการเดินเร็วจะสามารถลดความดันได้เท่ากับการวิ่งจริงหรือ?การเดินเร็ว 10-12 นาทีต่อกิโลเมตร หรือนับง่ายๆ คือ 100 ก้าวต่อนาที หรื...

อ่านต่อ

ใยอาหาร ยีสต์เบต้ากลูแคน มีประโยชน์

ยีสต์เบต้ากลูแคน (Yeast Beta-Glucan) มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร นอกจากจะช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายแล้ว ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้เม้ดเลือดขาวเตรียมพร้อมควบบคุมการหลังสาร ไซโตไคน์ ที่ช่วยสื่อสารระหว่าง...

อ่านต่อ

วัย 40 กินคอลลาเจนอย่างไรให้ได้ผล

คอลลาเจนพบมากที่บริเวณผิว และ ไขข้อ มีการสร้าง และสลายตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะสร้างคอลลาเจนน้อยลง จะเห็นชัดหลัง อายุ40ปี โดยเฉพาะที่ผิว เพราะคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีนกว่า 80% ของผิว คอลลาเจนนี้จะอยู่ที่ผิวหนังชั้นล่างซึ่งครีมทั่วไ...

อ่านต่อ

พาวซูการ์คิว และ พาวแคปซูล

พาวแบบเม็ด มี 2 ชนิด  คือ พาวแคปซูล และ พาวซูการ์คิว ซึ่งทั้ง 2 ชนิด มีความต่างกันคือพาวซูการ์คิว Zukar Q สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพน้ำตาล ไขมันคอเลสตอลรอล ไขมันเลว และความดัน มีงานวิจัยบลูสเปียร่าจากม.พะเยา พาวแคปซูล มีส่วนผสมของพลูคาว และสมุน...

อ่านต่อ

โยคะบำบัด วัยทอง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เชื่อว่า การออกกำลังกายไม่เหมาะกับพวกเขา จริงแล้วเมื่ออายุมากขึ้น ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกายเบาๆ เช่นการเดินเร็วการฝึกความแข็งแรง การว่ายน้ำ การยืดกล้ามเนื้อ การปั่นจักรยาน การวิ่งจ็อกกิ้ง และ โยคะ ในกิจวัตรประจำ...

อ่านต่อ